แนะนำวิธีและการใช้น้ำยาบ้วนปากอย่างไรให้ถูกต้อง

Posted: 7 March , 2022

หลายคนอาจมีข้อสงสัยหลายอย่างเกี่ยวกับการใช้น้ำยาบ้วนปากว่าเหมาะกับลูกน้อยหรือไม่ ควรใช้ตอนไหนบ้าง หรือควรเลือกส่วนผสมใดที่เหมาะกับช่องปากของเราบ้าง วันนี้ Homey Dental Clinic มีคำตอบครับ

แนะนำวิธีและการใช้น้ำยาบ้วนปากอย่างไรให้ถูกต้อง

 

ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับการใช้น้ำยาบ้วนปากอย่างไรให้ถูกต้อง

1. ส่วนผสมของน้ำยาบ้วนปากมีอะไรบ้าง?

  • ฟลูออไรด์ (Fluoride) ช่วยยับยั้งการผุของผิวเคลือบฟัน ทำให้เคลือบฟันต้านทานต่อกรดได้ดียิ่งขึ้น
  • คลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) ช่วยต้านคราบจุลินทรีย์และรักษาโรคเหงือกอักเสบทั้งระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับรุนแรง
  • เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ (Cetylpyridinium Chloride) ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและลดกลิ่นปาก
  • น้ำมันหอมระเหย ช่วยต้านแบคทีเรียและดับกลิ่นปากหลังจากบ้วนปากประมาณ 2-3 ชั่วโมง เช่น ไทมอล ยูคาลิปตอล เมนทอล น้ำมันกานพลู
  • สารประเภทดีเทอร์เจนต์ ช่วยลดคราบจุลินทรีย์และโรคเหงือกอักเสบ เช่น โซเดียมลอริลซัลเฟต โซเดียมเบนโซเอต
  • คาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ (Carbamide peroxide) ใช้สำหรับฟอกสีฟันให้ขาวขึ้น

 

2. ใช้น้ำยาบ้วนปากแทนการแปรงฟันได้ไหม?

ไม่ได้ครับ เนื่องจากการแปรงฟันสามารถกำจัดเศษอาหารตามซอกฟันและลิ้น แต่น้ำยาบ้วนปากทำได้เพียงฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากเท่านั้น ไม่สามารถเอาเศษอาหารออกได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้การบ้วนปากแทนการแปรงฟัน

.

2. น้ำยาบ้วนปากช่วยดับกลิ่นปากได้หรือไม่?

ได้ครับ แต่ช่วยระงับกลิ่นในระยะสั้นเท่านั้น (ประมาณ 2-3 ชั่วโมง) เนื่องจากน้ำยาบ้วนปากหลายแบรนด์มีน้ำมันหอมระเหยผสมอยู่ด้วย แต่หากต้องการดับกลิ่นปากถาวรก็ควรดูแลสุขภาพช่องปากนอกเหนือจากการใช้น้ำยาบ้วนปากด้วย ได้แก่ การแปรงฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร การจัดการปัญหาช่องปากอื่นๆ เช่น จัดฟันเกฟันซ้อน ฯลฯ ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้มีเศษอาหารในช่องปากอันเป็นสาเหตุของกลิ่นปากนั่นเอง

.

3. เผลอกลืนน้ำยาบ้วนปากเข้าไป อันตรายหรือไม่?

ขึ้นอยู่กับปริมาณที่กลืนเข้าไปครับ หากกลืนเข้าไปในปริมาณเล็กน้อยอาจไม่มีผลต่อร่างกายแต่อย่างใดเพราะร่างกายสามารถขับถ่ายออกมาได้เอง แต่ถ้ากลืนเข้าไปในปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อเมือกกระเพาะอาหาร ส่งผลให้คลื่นไส้ อาเจียน จนถึงขั้นหมดสติได้ ในเด็กเล็กการกลืนยาสีฟันเข้าไปอาจส่งผลต่อฟันทำให้ฟันตกกระเพราะฟลูออไรด์เกินได้

.

4. ใช้น้ำยาบ้วนปากบ่อยไป ช่วยให้ช่องปากสะอาดขึ้นกว่าเดิมหรือไม่?

ไม่จริงครับ เพราะในช่องปากของเราไม่ได้มีแค่แบคทีเรียไม่ดีเท่านั้นแต่ยังไม่แบคทีเรียดีรวมอยู่ด้วย หากคุณใช้น้ำยาบ้วนปากบ่อยไปอาจทำลายเชื้อแบคทีเรียดีจนเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราในช่องปาก ส่งผลให้สีของเคลือบผิวฟันเปลี่ยนแปลง ตุ่มรับรสของลิ้นผิดเพี้ยน หรือเกิดหินน้ำลายง่ายขึ้น

.

5. น้ำยาบ้วนปากเหมาะกับคนทุกวัยหรือไม่

น้ำยาบ้วนปากเหมาะกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป เนื่องจากเด็กที่มีอายุต่ำจากนี้อาจได้รับอันตรายจากการกลืนน้ำยาบ้วนปากเกินขนาด ซึ่งมีส่วนผสมของคลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) และเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) ทำให้เด็กคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว จนถึงขั้นหมดสติ

.

6. วิธีใช้น้ำยาบ้วนปากที่ถูกต้องควรทำอย่างไร?

โดยทั่วไปสามารถใช้ก่อนและหลังแปรงฟันโดยอมน้ำยาบ้วนปากเอาไว้ในปริมาณ 4-5 ช้อนชา (20 มิลลิลิตร) เป็นเวลา 30-60 วินาที กลั้วให้ทั่วช่องปากจากนั้นค่อยบ้วนทิ้ง

.

7. ใช้น้ำยาบ้วนปากเสร็จแล้วต้องบ้วนน้ำสะอาดตามหรือไม่?

ไม่ควรครับ เนื่องจากน้ำยาบ้วนปากมีสารฟลูออไรต์ที่ช่วยทำความสะอาดช่องปากและทำให้เคลือบฟันแข็งแรง หากบ้วนน้ำสะอาดตามอาจทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากลดลง ดังนั้นควรบ้วนปากหรือดื่มน้ำตามหลังจากบ้วนปากอย่างน้อย 30 นาที

.

8. บ้วนปากด้วยน้ำยาทันทีหลังแปรงฟันได้หรือไม่?

ไม่จำเป็นครับ เนื่องจากยาสีฟันส่วนใหญ่จะมีสารฟลูออไรด์อยู่แล้ว จึงควรปล่อยให้ฟลูออไรด์ทำงานในช่องปากเราอย่างน้อย 30 นาทีแล้วจึงใช้น้ำยาบ้วนปากต่อ

.

9. น้ำยาบ้วนปากรักษาโรคในช่องปากได้หรือไม่?

ได้ครับ เนื่องจากน้ำยาบ้วนปากบางประเภทผลิตขึ้นมาเพื่อกำจัดแบคทีเรียและคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก รวมถึงป้องกันโรคเหงือกอักเสบในระยะเริ่มต้นด้วย

.

10. ยิ่งอมยิ่งแสบปาก แสดงว่ายิ่งฆ่าเชื้อได้ดี จริงหรือไม่?

ไม่จริงครับ เพราะอาการแสบปากขณะกลั้วปากแสดงถึงปริมาณแอลกอฮอล์ที่มากไป ส่งผลให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในช่องปาก ผิวฟันบางลง ทำให้รู้สึกเสียวฟันและเกิดแผลในช่องปาก หากร้ายแรงอาจเกิดโรคมะเร็งในช่องปากตามมาด้วย ดังนั้นควรเลือกน้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จะดีที่สุดครับ

บทความที่น่าสนใจ


ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม

 

คลินิกทันตกรรมเด็ก

 

คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน

 

สาขาทั้งหมดของ Homey Dental Clinic 




สาขากาญจนาภิเษก
ซอย 7/2 แขวง ศาลาธรรมสพน์
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
สาขาประดิษฐ์มนูญธรรม
991 ซอย ลาดพร้าว 87 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สาขา I’m Park จุฬา (เฉพาะเด็ก)
โครงการ I’mpark จุฬาฯ  355 ถนน เจริญเมือง แขวง วังใหม่ กรุงเทพมหานคร 10330



ทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะด้านนี้

ติดต่อเรา