สังเกตลูกเหงือกบวมจากอาการต่างๆ เหล่านี้
Posted: 17 May , 2022หากช่วงนี้ลูกงอแงผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือทานอาหารได้น้อยกว่าปกติ รวมถึงเลือดออกขณะแปรงฟัน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกเหงือกบวมอยู่แน่นอน วันนี้เราจะมาเช็กกันว่ามีอาการอะไรบ้างที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตลูกได้ด้วยตัวเอง ถ้าพร้อมแล้วมาอ่านกันเลยครับ
สาเหตุของเหงือกบวมในเด็ก
เหงือกบวมเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำน้อยกว่าปกติที่ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เมื่อดื่มน้ำน้อยแบคทีเรียในช่องปากจะเจริญเติบโตในช่องปากไวขึ้น การได้รับสารอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน A, B2 หรือ C ต่ำกว่าความต้องการของร่างกาย การทานยาที่มีผลต่อเหงือก เป็นโรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ตัวเอง การทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีจนมีเศษอาหารติดตามซอกฟัน รวมถึงได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับช่องปากด้วย หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ ไม่ยอมไปหาหมอฟัน อาจเสี่ยงต่อโรคเหงือกอักเสบจนต้องถอนฟันทิ้งในที่สุด
.
ประเภทของเหงือกบวม
1. เหงือกบวมจากกระดูกงอก
เมื่อกลไกร่างกายสร้างกระดูกหนาขึ้น ส่งผลให้มีตุ่มก้อนกระดูกขนาดใหญ่ดันเหงือกออกมาเพื่อรองรับแรงบดเคี้ยว จนกลายเหงือกบวมและเปลี่ยนสีจากชมพูเป็นสีขาว
.
2. เหงือกบวมจากยา
ยาบางประเภทส่งผลให้เหงือกลูกน้อยเหงือกบวมง่ายขึ้น เช่น ยาระงับอาการชัก ยากดภูมิคุ้มกัน
.
3. เหงือกบวมจากการระคายเคือง
หากลูกน้อยของคุณกำลังจัดฟันอยู่อาจเกิดเหงือกบวมได้เนื่องจากการระคายเคืองของอุปกรณ์จัดฟัน เช่น เหล็กจัดฟัน รีเทนเนอร์ หรือเศษอาหารไปติดตามอุปกรณ์เหล่านี้ เกิดการเสียดสีบริเวณเหงือกจนเหงือกบวมและอาจเป็นแผลตามมา นอกจากนี้ยังนับรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากอย่างยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือไหมขัดฟัน ที่บางคนอาจแพ้สารบางชนิดจนเหงือกอักเสบ ประกอบกับถ้ามีแผลร้อนในบริเวณเหงือกแล้วก็ยิ่งเหงือกบวมหนักกว่าเดิม
.
4. เหงือกบวมจากฟันขึ้น
โดยทั่วไปฟันของเด็กน้อยจะขึ้นนั้นเป็นฟันน้ำนมซี่ล่างในช่วงอายุ 6-8 เดือน ในช่วงนี้ควรสังเกตอาการลูกให้ดี หากลูกงอแงง่ายกว่าปกติ ชอบกัดสิ่งของต่างๆ บ่อยขึ้น น้ำลายไหลตลอดเวลา รวมถึงมีไข้สูง อาจต้องดูแลสุขภาพช่องปากลูกอย่างใกล้ชิดมากขึ้น
.
5. เหงือกบวมจากการทำความสะอาดช่องปากไม่เพียงพอ
ช่วงวัยเด็กเป็นช่วงที่เด็กยังทำความสะอาดช่องปากไม่ดีเพราะรู้สึกไม่สนุกทุกครั้งที่ทำ หรือติดเล่นมากเกินไปจนละเลยการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟัน นอกจากนี้รวมถึงการใช้แปรงสีฟันที่ขนอ่อนเกินไปทำให้ขัดเศษอาหารออกได้ไม่มากพอ จนทำให้มีแบคทีเรียสะสมตามซอกฟันและลิ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เหงือกบวมและกลายเป็นโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบในที่สุด
.
อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบอกว่าลูกเหงือกบวมจากฟันขึ้น
1. รู้สึกปวดฟันขณะทานอาหาร ทานอาหารน้อยลง
เนื่องจากเหงือกบวมทำให้แบคทีเรียแพร่กระจายในช่องปาก และเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อและเส้นประสาทโดยรอบฟัน เวลาทานอาหารหรือฟันสบกันจึงรู้สึกปวดง่ายกว่าปกติ และยิ่งถ้ามีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างนอนกัดฟัน หรือทานอาหารแข็งหรือเหนียวเกินไปก็ยิ่งปวดฟันง่ายขึ้นด้วย
.
2. มีกลิ่นปากแรงกว่าปกติ
เหงือกบวมทำให้พื้นที่ในช่องปากน้อยลง ส่งผลให้ทำความสะอาดเศษอาหารยากขึ้น และกลายเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียจนเกิดเป็นคราบพลัคเกาะตามซอกฟัน ส่งกลิ่นเหม็นภายในช่องปากเรื้อรัง
.
3. เหงือกเปลี่ยนสีจากชมพูเป็นสีอื่น
โดยปกติเหงือกคนเราจะมีสีชมพูหรือแดงอ่อน แต่เมื่อเหงือกบวมจากคราบพลัคแล้วจะส่งผลให้เนื้อเยื่อรอบๆ รากฟัน หรือเอ็นยึดปริทันต์ ที่ยึดฟันไว้ในเบ้ากระดูกขากรรไกรถูกทำลาย และทำให้เหงือกร่นและกลายเป็นที่สะสมเศษอาหารจนทำลายเคลือบฟันและกระดูกเบ้าฟัน โดยเหงือกบริเวณนั้นจะมีสีแดงเข้ม ส่วนฟันที่เคยแข็งแรงก็กลับโยกง่ายขึ้นและมีหนองบริเวณเหงือกบวมที่ฟันกรามและฟันหน้า สังเกตได้จากสีเหงือกบวมที่เปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ
.
4. เลือดออกขณะแปรงฟัน
เกิดจากคราบพลัคซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มอยู่ในช่องปากที่ก่อตัวรอบตัวฟันจนทำให้เหงือกระคายเคืองและทำให้เลือดออกขณะแปรงฟันและเหงือกบวมตามมา
.
5. มีไข้ ตัวร้อนรุมๆ
อาการของเหงือกบวมไม่ว่าจะเป็นอาการปวดฟันแทบจะตลอดเวลา กินอาหารน้อยลง หรือแม้แต่แปรงฟันลำบาก ส่งผลให้ใช้ชีวิตลำบากขึ้นเพราะอาการปวดเหล่านี้รบกวนการรับสารอาหารที่เสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายตกลงและป่วยง่ายขึ้น โดยสังเกตจากอาการปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว อุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส เป็นต้น
.
6. ปวดฟันบ่อยๆ แม้กระทั่งตอนนอน
อาการปวดฟันนั้นเกิดขึ้นได้แทบจะทุกเวลาแม้กระทั่งตอนนอนก็ตาม ทำให้ลูกน้อยสะดุ้งตื่นขึ้นพร้อมกับอาการปวดฟันจนนอนไม่หลับ แล้วพอนอนไม่หลับก็ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายตกกว่าเดิม
.
7. มีหนองขึ้นบริเวณเหงือก
หากปล่อยให้เหงือกบวมแดงจนมีตุ่มหนองสีขุ่นๆ ตัวเหงือกจะเปลี่ยนสีไปจากแดงกลายเป็นแดงเข้มและม่วง อาจมีเลือดซึมออกตามไรฟันและขอบเหงือกด้วย
.
วิธีการป้องกันเด็กเหงือกบวม
1. ทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี
ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หากเป็นไปได้ควรแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเสร็จอย่างน้อย 30 นาที รวมถึงใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากควบคู่ด้วยทุกครั้ง
.
2. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อเหงือกบวม
เช่น การรับประทานอาหารประเภทน้ำตาลหรือแป้งมากเกินไป การเคี้ยวอาหารที่แข็งหรือเหนียวเกินไป การใช้ลิ้นดุนฟันแรงๆ การนอนกัดฟัน หรือหลีกเลี่ยงการแปรงฟันในแต่ละวัน
.
3. บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
นำน้ำอุ่น 1 แก้ว ผสมเกลือป่น 1 ช้อนชา จากนั้นคนให้เข้ากันแล้วให้ลูกกลั้วน้ำผสมเกลือเป็นเวลา 30-60 วินาที และบ้วนทิ้ง ทำซ้ำจนกว่าจะรู้สึกปวดน้อยลง
.
4. บรรเทาอาการด้วยแผ่นประคบร้อน
หากเด็กเหงือกบวมจนรู้สึกปวด คุณพ่อคุณแม่ควรใช้แผ่นประคบร้อนวางบนใบหน้าตรงที่เหงือกบวมเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น
.
5. ไม่ละเลยต่ออาการเหงือกบวม
หากรู้สึกว่าเหงือกบวมเพียงเล็กน้อยควรหมั่นสังเกตอาการเป็นประจำ หากปวดเหงือกบวมนานกว่า 2 สัปดาห์ ควรรีบพาไปพบทันตแพทย์ทันที
.
และที่สำคัญอย่าลืมดูแลช่องปากของลูกน้อยด้วยการพาลูกน้อยไปพบหมอฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือพบทันทีที่พบปัญหา เพื่อตรวจเช็กปัญหาฟันที่ไม่มองเห็นได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงในอนาคต
.
บทความที่น่าสนใจ
เหงือกบวม: ภัยร้ายที่ทำลายสุขภาพฟันของลูกน้อย
ลูกเหงือกบวมมีตุ่มหนองต้องทำยังไง รักษาเองได้มั้ยนะ
คำถามที่พบบ่อยเมื่อต้องพาลูกเข้าคลินิกทำฟันเด็ก
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน