เลือกยาแก้ปวดฟันสำหรับเด็กอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย
Posted: 22 June , 2022คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกังวลใจทุกครั้งที่เห็นลูกปวดฟัน แม้ว่าลูกจะดูแลฟันเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม ซึ่งอาการปวดอาจเกิดจากฟันกำลังจะหลุดก็ได้ วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีเลือกยาแก้ปวดฟันสำหรับเด็กกันครับ
สาเหตุของอาการปวดฟันในเด็ก
- ดูดนิ้วมือ ตามธรรมชาติของเด็กเล็กมักจะติดการดูดนิ้วหัวแม่มือเพื่อเติมเต็มความรู้สึกปลอดภัย และจะหยุดดูดไปเองตั้งแต่อายุ 2-4 ปี แต่หากปล่อยให้เด็กดูดนิ้วไปนานอาจทำให้ฟันหน้าบน-ล่างไม่สบกัน และปวดฟันตามมา
- กัดฟันบ่อย เนื่องจากเด็กยังใช้ฟันน้ำนมซึ่งยังแข็งแรงไม่เท่าฟันแท้ อาจทำให้รู้สึกปวดฟันขึ้นมา
- มีเศษอาหารติดค้างที่ฟันจากการทำความสะอาดไม่ทั่วถึง เกิดแบคทีเรียสะสมและทำลายสารเคลือบฟันอย่างต่อเนื่อง เมื่อปล่อยไว้นานๆ อาจทำให้ปวดฟันได้ง่ายขึ้น
- เกิดอุบัติเหตุทำให้ฟันหัก หรือฟันร้าว ส่งผลให้ปวดฟันอย่างรุนแรง
- ปัญหาจากงานทันตกรรม ในกรณีที่ที่ครอบฟัน หรืออุดฟันหลวมจนแตกออกมา อาจทำให้เส้นประสาทฟันโผล่มาชัดขึ้น เวลาที่ฟันสัมผัสกับสิ่งของจะรู้สึกปวดฟันขึ้นมา
- เกิดฝีในฟันเนื่องจากฟันผุไปถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้ปวดฟันเป็นพัก ๆ มีอาการบวมแดง รวมถึงทำให้รับรสชาติอาหารได้ไม่เต็มที่
วิธีเลือกยาแก้ปวดฟันสำหรับเด็ก
โดยทั่วไปเด็กสามารถทานยาแก้ปวดฟันได้ เพียงแต่ต้องกำหนดปริมาณที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงต่อตัวเด็ก ในปัจจุบันมียาที่เด็กทานได้ ดังนี้
1. พาราเซตามอล (Paracetamol)
หรือที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า อะเซตามีโนเฟน มีสรรพคุณแก้ปวด ลดไข้ สามารถใช้แทนยาแอสไพรินได้ในกรณีที่แพ้แอสไพริน ในปัจจุบันมีวางจำหน่ายหลากหลายยี่ห้อวาง ได้แก่ ซาร่า, ไทลีนอล, ดีคอลเจน โดยแบ่งปริมาณตามความเหมาะสมในการใช้งานตามช่วงวัยของผู้ทาน ดังนี้
1.1 พาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม
เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 6-12 ปี ครั้งละ ½-1 เม็ด ทุก 4-6 ชม. เมื่อมีอาการปวด (ไม่ควรเกิน 2.6 กรัม/วัน)
1.2 พาราเซตามอลขนาด 325 มิลลิกรัม
เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 6-12 ปี ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4-6 ชม. เมื่อมีอาการปวด (ไม่ควรเกิน 5 เม็ด/วัน)
1.3 ยาน้ำเซตามอลขนาดบรรจุขวดละ 60 มิลลิลิตร พร้อมช้อนชา
- สำหรับเด็กที่มีอายุ 3-6 ปี ครั้งละ 1-2 ช้อนชา (5-10 มิลลิลิตร)
- สำหรับเด็กที่มีอายุ 1-3 ปี ครั้งละ ½-1 ช้อนชา (2.5-5 มิลลิลิตร)
- สำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือน – 1 ปี ครั้งละ ½ ช้อนชา (2.5 มิลลิลิตร)
1.4 ยาน้ำเซตามอลขนาดบรรจุขวดละ 30 มิลลิลิตร พร้อมหลอดหยด
- สำหรับเด็กที่มีอายุ 4-5 เดือน ทานครั้งละ 2 หลอดหยด (2.4 มิลลิลิตร)
- สำหรับเด็กที่มีอายุ 2-3 เดือน ทานครั้งละ ½ หลอดหยด (1.8 มิลลิลิตร)
- สำหรับเด็กแรกเกิด – 1 เดือน ทานครั้งละ 1 หลอดหยด ช้อนชา (1.2 มิลลิลิตร)
ข้อควรระวังในการใช้พาราเซตามอล
ควรใช้พาราเซตามอลตามวิธีที่ระบุไว้ข้างฉลาก หากลืมทานตามเวลาที่แพทย์กำหนด ไม่ควรเพิ่มขนาดยาในการทานครั้งต่อไป และควรหยุดใช้ยาทันทีเมื่อไม่มีอาการปวด หากใช้มากเกินขนาดอาจเป็นพิษต่อตับ จนตัวยาเกิดการอิ่มตัวและไม่สามารถขับออกไปจากตับและทำให้เซลล์ตับวาย อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรือหากเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับตับ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา
2. ไอบิวพรอเฟน (Ibuprofen)
เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีสรรพคุณลดอาการปวด ลดไข้ และอาการอักเสบจากการปวดฟัน, ปวดหัว, ปวดประจำเดือน โดยแบ่งปริมาณตามความเหมาะสมในการใช้งานตามช่วงวัยของผู้ทาน โดยไอบิวพรอเฟนที่เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือน -12 ปี ควรทานขนาด 5-10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 4-6 ชม. เมื่อมีอาการปวด ไม่ควรทานเกิน 4 ครั้ง/วัน และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 10 วัน เว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
ข้อควรระวังในการใช้ไอบิวพรอเฟน
ไอบิวพรอเฟนไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ยาแอสไพรินหรือยากลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์อื่น ๆ , ผู้ที่มีอาการหอบหืด หรือโพรงจมูกอักเสบเฉียบพลันจากการแพ้ยาแอสไพริน รวมถึงผู้ที่เคยมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร, เป็นโรคตับหรือโรคไตอย่างรุนแรง นอกจากนี้หากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย, เกิดผลเสียต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ จึงควรเลี่ยงการทานขณะท้องว่าง ในกรณีของผู้ที่เคยมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้
3. แอสไพริน (Aspirin)
เป็นยาชนิดเม็ดที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวด ลดอาการอักเสบ และลดไข้ โดยแบ่งปริมาณตามความเหมาะสมในการใช้งานตามช่วงวัยของผู้ทาน โดยปริมาณแอสไพรินที่เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 5-10 ปี ควรทานครั้งละ 1 เม็ด ส่วนเด็กที่มีอายุ 3-5 ปี ควรทานครั้งละ ½ เม็ด และเด็กที่มีอายุ 1-3 ปี ควรทานครั้งละ 1⁄4 เม็ด ควรใช้ยาทุก ๆ 4-6 ชม.
ข้อควรระวังในการใช้พาราเซตามอลแอสไพริน
ควรทานยาแอสไพรินหลังมื้ออาหารทันทีเพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร หากเป็นผู้ที่มีประวัติการแพ้ยาแอสไพริน, เป็นแผลในกระเพาะอาหาร, มีภาวะเลือดออกผิดปกติ, เป็นโรคหอบหืด, โรคตับ, โรคไต, โรคหัวใจ หรือภูมิแพ้ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา หากมีผื่นคัน, วิงเวียนศีรษะ, หรือลมพิษ ควรหยุดใช้ยาและพบแพทย์ทันที
วิธีการเก็บรักษายาแก้ปวดฟันสำหรับเด็ก
ควรปิดฝาให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน หากเป็นชนิดน้ำควรเก็บในตู้เย็น ทั้งนี้ยามีอายุไม่เกิน 5 ปี หลังวันผลิต จึงไม่ควรซื้อกักตุนเอาไว้ กรณีที่เป็นยาน้ำสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 3 ปี หากเปิดขวดแล้วไม่ควรเก็บไว้เกิน 6 เดือน หากยาเปลี่ยนสี, กลิ่น และรสก่อนวันหมดอายุ ควรทิ้งทันทีเพื่อความปลอดภัย
บทความที่น่าสนใจ
- รักษาอาการปวดฟันหลังจัดฟันยังไงดี
- ภัยร้ายจากการปล่อยให้เด็กปวดฟัน อันตรายกว่าที่คุณคิด
- ปวดฟันคุดต้องถอนออกอย่างเดียวมั้ย รักษาโดยไม่ต้องถอนได้หรือเปล่า?
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน