ไม่อยากให้ลูกฟันสึก ต้องใช้เฝือกสบฟัน

Posted: 19 February , 2022

เด็กหลายคนอาจมีปัญหาเรื่องการกัดฟันทั้งจากความเคยชินระหว่างวันหรือจากการกัดฟันเวลานอนหลับ ซึ่งจะส่งผลให้ฟันเกิดการเสียดสีกันอย่างรุนแรงระหว่างพื้นผิวที่ถูกกัดของขากรรไกรบนและล่าง จนฟันสึกกร่อนและเกิดอาการปวด วันนี้ Homey Dental Clinic จะมาแนะนำหนึ่งในวิธีแก้ปัญหากัดฟันก็คือการใส่เฝือกสบฟันนั่นเอง ว่าแต่เฝือกสบฟันคืออะไร มีขั้นตอนการใส่และดูแลรักษาอย่างไร มาอ่านกันเลยครับ

 

เฝือกสบฟัน

เฝือกสบฟันคืออะไร

เฝือกสบฟันเป็นเครื่องมือที่หมอฟันเด็กใส่ในช่องปากของคนไข้เพื่อลดอาการปวดของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว อันเนื่องมาจากปัญหากัดฟันจากความเคยชินของคนไข้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันฟันสึกขณะกัดฟันด้วย

 

การนอนกัดฟัน: สาเหตุสำคัญของการใส่เฝือกสบฟัน

  • สภาพฟันของแต่ละคน เช่น ฟันเรียงกันผิดปกติ ฟันซ้อนเก หรือเป็นโรคปริทันต์
  • สารกระตุ้นต่างๆ ในอาหาร เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • การทานยาบางชนิด
  • ความเครียด

 

สังเกตอาการที่ต้องบ่งบอกว่าใส่เฝือกสบฟัน

  • ชอบกัดฟันหรือขบเน้นฟันเวลากลางวัน
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกร
  • มีเสียงดังและรู้สึกติดขัดเวลาอ้าหรือหุบปาก
  • เด็กที่สบฟันไม่เสถียรหรือฟันหลังสบไม่เสมอกัน
  • เด็กที่มีภาวะข้อเสื่อมของขากรรไกร
  • นอนหายใจทางปาก
  • ฟันแตกจากการบดเคี้ยว
  • เจ็บปวดบริเวณหน้าหูหรือกกหู
  • ปวดหัวและเสียวฟันง่ายขึ้น

 

ประเภทของเฝือกสบฟัน

1. เฝือกสบฟันแบบอ่อน

  • เหมาะกับเด็กอายุน้อยที่ขากรรไกรยังเจริญเติบโต เฝือกชนิดนี้ไม่ได้ขัดขวางการเจริญเติบโตของขากรรไกร
  • ใช้ฉุกเฉินในเด็กที่มีอาการปวดมาก เหมาะกับการใช้ชั่วคราวระหว่างรอทำเฝือกสบฟันชนิดแข็ง
  • ใช้ป้องกันฟันสึกกร่อนจากการว่ายน้ำหรือใช้ป้องกันการกระแทกขณะเล่นกีฬา
  • แต่เนื่องจากเฝือกสบฟันชนิดอ่อนใช้วัสดุนิ่มและทำง่ายจึงไม่ทนต่อการใช้งานและต้องเปลี่ยนบ่อยๆ

 

2. เฝือกสบฟันแบบแข็ง

  • ทำจากพลาสติกแข็ง จึงมีอายุใช้งานนานกว่าชนิดอ่อน
  • เหมาะกับเด็กที่นอนกัดฟันหรือเด็กที่กัดฟันระหว่างวันเป็นประจำ หรือเด็กที่มีข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ
  • ไม่เหมาะกับเด็กเล็ก เพราะใช้เวลาในการทำเฝือกสบฟันนานและอาจขวางการเจริญเติบโตของขากรรไกร
  • ช่วยให้สบฟันดีขึ้น กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้น

 

ขั้นตอนการทำเฝือกสบฟัน

  • หมอฟันเด็กจะตรวจเช็คช่องปากเพื่อดูการสบฟันและวางแผนการรักษา
  • จากนั้นจึงพิมพ์แบบและทำเฝือกฟันเฉพาะบุคคล โดยใช้ระยะเวลาอยู่ที่ 1-2 สัปดาห์
  • สุดท้ายหมอฟันเด็กจะแนะนำวิธีการใช้เฝือกสบฟัน

 

ข้อดีของการใส่เฝือกสบฟัน

  • ป้องกันฟันสึก แตก หรือร้าวจากการกัดฟัน
  • ป้องกันการเคลื่อนที่ของฟันไม่ให้เปลี่ยนจากเดิม
  • ลดการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
  • ลดแรงบดเคี้ยวให้ข้อต่อขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง

 

อาการที่พบจากการใส่เฝือกสบฟัน

  • อาจเจ็บฟันหรือจากเฝือกสบฟัน
  • การสบฟันอาจเปลี่ยนแปลงได้จากการใส่เฝือกสบฟันเป็นเวลานาน

 

วิธีดูแลหลังใส่เฝือกสบฟัน

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ใส่เฝือกสบฟันให้ถูกตำแหน่งโดยการกดเบาๆ ให้เข้าที่ อาจรู้สึกตึงๆ ที่ฟัน 2-3 นาที
  • หากใส่เฝือกสบฟันแล้วเจ็บ ควรถอดและนำไปให้หมอฟันเด็กตรวจเช็กทันที
  • ในช่วงแรกอาจมีน้ำลายลายมากขึ้น หากใส่เป็นประจำแล้วน้ำลายจะไหลตามปกติ
  • ถอดเฝือกสบฟันหลังจากตื่นนอน
  • เก็บเฝือกสบฟันในภาชนะที่ชื้น
  • พบหมอฟันเด็กทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจเช็กเฝือกสบฟัน

 

ราคาของเฝือกสบฟัน

ทางเรา Homey Dental Clinic มีเรทราคาตามประเภทของเฝือกสบฟัน ดังนี้

  • เฝือกสบฟันแบบอ่อน ชิ้นละ 3,500 บาท
  • เฝือกสบฟันแบบแข็ง ชิ้นละ 4,500 บาท

บทความที่น่าสนใจ


ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม

 

คลินิกทันตกรรมเด็ก

 

คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน

 

สาขาทั้งหมดของ Homey Dental Clinic 




สาขากาญจนาภิเษก
ซอย 7/2 แขวง ศาลาธรรมสพน์
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
สาขาประดิษฐ์มนูญธรรม
991 ซอย ลาดพร้าว 87 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สาขา I’m Park จุฬา (เฉพาะเด็ก)
โครงการ I’mpark จุฬาฯ  355 ถนน เจริญเมือง แขวง วังใหม่ กรุงเทพมหานคร 10330



ทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะด้านนี้

ติดต่อเรา