เหงือกบวม: ภัยร้ายที่ทำลายสุขภาพฟันของลูกน้อย
Posted: 19 February , 2022หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่เด็กหลายคนเป็นกันบ่อยก็คือปัญหาเหงือกบวมที่ทำเอาเด็กหลายคนกินไม่ได้ นอนไม่หลับกันอยู่หลายวัน ซึ่งอาจส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพช่องปากในอนาคต วันนี้ Homey Dental Clinic จะพามาทำความรู้จักกับภาวะเหงือกบวมให้มากกว่าที่เคย เพื่อหาทางรับมือและแก้ไขโดยเร็วที่สุด
อย่าปล่อยให้เหงือกบวมเรื้อรังจนเกินเยียวยา
โดยทั่วไปอาการเหงือกบวมเกิดจากการทำความสะอาดช่องปากไม่ทั่วถึงจนทำให้เชื้อแบคทีเรียที่สะสมในช่องปาก จากนั้นจะเกิดการระคายเคืองและทำให้เหงือกอักเสบ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุตามระดับความรุนแรง ดังนี้
1. การทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี
โดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 3-12 ปี ที่อาจไม่มีความรู้ความเข้าใจมากพอในการทำความสะอาดช่องปาก จนอาจละเลยและทำให้เกิดปัญหาเหงือกบวมได้
.
2. ฟันผุ
หากมีฟันผุลึกไปจนถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เหงือกบวม มีตุ่มหนอง และเกิดหลุมกว้าง
.
3. มีฟันคุด
มีฟันคุดและเกิดการระคายเคืองติดต่อกัน
.
4. มีกระดูกงอก
ทำให้เหงือกถูกดันออกมาจนเกิดการอักเสบ
.
5. มีแผลบริเวณเหงือก
เกิดจากเหงือกบาดเจ็บจากแผลร้อนในบริเวณเหงือกพอดี
.
6. ภาวะขาดสารอาหาร
โดยเฉพาะวิตามิน B และ C ซึ่งส่งผลต่อความแข็งแรงของเหงือกและฟัน
.
7. ผลข้างเคียงของยาบางประเภท
เช่น ยากันชักบางชนิด
.
8. การระคายเคืองจากการติดอุปกรณ์ทางทันตกรรม
เช่น ฟันปลอม เหล็กจัดฟัน รีเทนเนอร์
.
9. ผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปาก
การแพ้สารประกอบบางอย่างจากยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก จนทำให้เกิดการระคายเคืองและเกิดแผลในช่องปาก รวมถึงการใช้แปรงสีฟันขนแปรงแข็งเกินไปหรือใช้ไหมขัดฟันผิดวิธี
.
ประเภทของเหงือกบวม
โดยทั่วไปแล้วอาการเหงือกบวมมักไม่แสดงอาการให้เห็นภายนอกมาก นอกจากเหงือกนูนแดงขึ้นมาพร้อมกับอาการปวด แต่จริงๆ แล้วมีการแบ่งประเภทตามอาการต่างๆ ดังนี้
.
1.อาการเหงือกบวมแดงอักเสบ
สังเกตจากสีของเหงือกจะเปลี่ยนจากชมพูอ่อนเป็นแดงเข้ม หากอาการหนักมากอาจเป็นสีม่วงและเหงือกจะบวมขึ้นเรื่อย ๆ จนบิดเนื้อฟัน หากสัมผัสบริเวณที่บวมจะรู้สึกเจ็บหรือมีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน อาจเกิดโอกาสฟันผุตามมาด้วย
.
2. อาการเหงือกบวมเป็นหนอง
เกิดจากการปล่อยให้เหงือกอักเสบเป็นเวลานานและไม่ได้รับการรักษา อาการทั่วไปจะคล้ายกับอาการเหงือกบวมแดงอักเสบ แต่มีของเหลวขุ่นข้นหรือหนองร่วมด้วย หากใช้มือกดบริเวณเหงือกอักเสบจะพบหนองไหลออกมาจากขอบเหงือก
.
3. รากฟันอักเสบ
เกิดจากฟันผุลึกลงไปถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เส้นเลือดในโพรงประสาทฟันอักเสบและเกิดตุ่มหนองที่เหงือกขึ้น สังเกตจากสีของฟันที่เปลี่ยนเป็นสีคล้ำขึ้น หากเคี้ยวอาหารจะรู้สึกเจ็บและเสียวฟัน
.
เหงือกบวมระยะต่างๆ
1. ระยะเหงือกอักเสบ
เป็นอาการโรคเหงือกอักเสบเบื้องต้น เกิดจากคราบพลัคและคราบจุลินทรีย์ซึ่งสะสมอยู่บริเวณขอบรอยต่อระหว่างเหงือกกับฟัน โดยเชื้อจุลชีพในคราบพลัคจะปล่อยสารที่ระคายเคืองกับเนื้อเยื่อเหงือกออกมา ส่งผลให้เหงือกอักเสบ
.
2. ระยะเนื้อเยื่อปริทันต์อักเสบ
พบว่าเอ็นยึดปริทันต์ หรือเนื้อเยื่อรอบๆ รากฟันที่ยึดฟันไว้ในเบ้ากระดูกขากรรไกรถูกทำลาย จนไม่สามารถรักษาให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ เกิดเหงือกร่นที่เก็บสะสมเศษอาหารง่ายขึ้น
.
3. ระยะเนื้อเยื่อปริทันต์อักเสบอย่างรุนแรง
พบฟันโยกซึ่งเกิดจากกระดูกเบ้าฟันและเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์ถูกทำลายจนหมด นอกจากนี้ยังมีอาการเหงือกอักเสบเป็นหนอง เหงือกบวมที่ฟันกรามและฟันหน้า ปวดฟันมาก ทำให้ไม่สามารถใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ
.
ผลข้างเคียงที่เกิดจากเหงือกบวม
1. ฟันร่วง
กระดูกขากรรไกรเสื่อมจากภาวะเหงือกอักเสบ
.
2. เชื้อโรคจากฝีหรือหนองในฟัน
แพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ หรือเข้าสู่กระแสเลือด จนเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดตามมา
.
3. เซลล์มะเร็ง
เซลล์มะเร็งในช่องปากเจริญเติบโตและลุกลามไปสร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อส่วนอื่น จนกลายเป็นมะเร็งช่องปากได้
.
4. ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
เกิดปัญหาภาวะขาดสารอาหารบางประเภทได้
.
วิธีการรักษาเหงือกบวมในเด็ก
1. กรณีที่เหงือกบวม เหงือกอักเสบเป็นหนอง
หมอฟันเด็กจะขูดหินปูนและเกลารากฟัน โดยทำความสะอาดเอาคราบหินปูนออกทั้งบริเวณฟันหน้าและฟันกราม โดยอาการเหงือกบวมและเหงือกอักเสบจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้จะต้องรับประทานยาฆ่าเชื้้อ และใช้น้ำยาบ้วนปากต้านเชื้อจุลินทรีย์ควบคู่กันไปด้วย
.
2. กรณีที่มีภาวะเหงือกร่น
หมอฟันเด็กจะผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายเหงือก โดยนำเนื้อเยื่อจากบริเวณอื่นในช่องปากมาซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย รวมทั้งปลูกกระดูกร่วมเพื่อให้สภาวะเหงือกใกล้เคียงกับปกติที่สุด
.
3. เหงือกบวมจากฟันคุด
หมอฟันเด็กจะถ่ายภาพรังสีเพื่อวินิจฉัยและผ่าฟันคุดซี่ดังกล่าวออก หลังจากการผ่าฟันคุดอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดเป็นเวลา 1 สัปดาห์
.
4. รากฟันอักเสบ
หมอฟันเด็กจะรักษารากฟันโดยประเมินสภาวะฟันอย่างละเอียดว่าสามารถเก็บฟันซี่ดังกล่าวเอาไว้หรือไม่ หากไม่สามารถรักษาได้อาจต้องถอนฟันซี่ดังกล่าวออก
.
วิธีการป้องกันเด็กเหงือกบวม
1. ทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี
ควรทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หากเป็นไปได้ควรแปรงฟันทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ
.
2. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปาก
หลังจากการแปรงฟันแล้วควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปาก ได้แก่ ไหมขัดฟัน และน้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็กควบคู่กัน
.
3. พบหมอฟันเด็กเป็นประจำทุก 6 เดือน
เพื่อตรวจเช็คและดูพัฒนาการของฟัน หากพบปัญหาช่องปาก หมอฟันเด็กจะแจ้งให้คุณแพ่อคุณแม่ทราบทันที
.
4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อเหงือกบวม
ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ทำจากความเคยชิน เช่น การรับประทานอาหารประเภทน้ำตาลหรือแป้งมากเกินไป การใช้ลิ้นดุนฟันแรงๆ หรือจะเป็นพฤติกรรมที่ทำโดยไม่รู้ตัวอย่างการนอนกัดฟัน
.
5. ไม่ละเลยต่ออาการเหงือกบวม
หากรู้สึกว่าเหงือกบวมเพียงเล็กน้อยควรหมั่นสังเกตอาการเป็นประจำ หากปวดเหงือกบวมนานกว่า 2 สัปดาห์ ควรรีบพาไปพบหมอฟันเด็กทันที
.
6. บรรเทาอาการปวดเบื้องต้นด้วยแผ่นประคบร้อน
กรณีที่เด็กเหงือกบวมแล้วรู้สึกปวด ผู้ปกครองควรใช้แผ่นประคบร้อนวางบนใบหน้าบริเวณเหงือกบวมเพื่อบรรเทาอาการบวม
.
บทความที่น่าสนใจ
- แนะนำอาหารบำรุงฟันสำหรับเด็ก
- 6 วิธีดูแลฟันอย่างไรให้อยู่กับเราไปนานๆ
- กลบกลิ่นปากให้หายได้ด้วยการดูแลช่องปากอย่างถูกต้อง
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน