ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อไปนี้ เพื่อการดูแลฟันในระยะยาว

Posted: 22 September , 2022

หลายคนอาจไม่ทราบว่าพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ทำจากความเคยชินของตัวเองอาจส่งผลร้ายของสุขภาพช่องปากได้โดยไม่รู้ตัว วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง พร้อมทั้งบอกวิธีแก้ไขเพื่อการดูแลสุขภาพฟันที่แข็งแรงยิ่งขึ้น

การดูแลฟัน

5 พฤติกรรมเสี่ยงส่งผลร้ายต่อการดูแลฟัน

1. ละเลยการทำความสะอาดช่องปาก

สาเหตุสำคัญอันดับ 1 ที่ทำให้ใครหลายคนมีปัญหาฟัน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก, ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงวัยนั้นเกิดจากการละเลยการทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟัน หลายคนอาจคิดว่าแปรงเฉพาะก่อนนอนอยางเดียวก็เพียงพอ แต่อย่าลืมว่าตั้งแต่ตื่นนอนมา เราต้องทานทั้งอาหารมื้อเช้า, กลางวัน และเย็น จึงมีเศษอาหารติดตามซอกฟันตลอดวัน ทำให้เชื้อแบคทีเรียในช่องปากทำปฏิกิริยากับเศษอาหารและสร้างกรดขึ้นมาทำลายผิวเคลือบฟัน ส่งผลให้ฟันสึกกร่อนและเกิดปัญหาในช่องปากตามมา โดยเฉพาะฟันผุและโรคเหงือกอักเสบที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้นคุณควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ได้แก่ แปรงหลังมื้ออาหารเช้าและแปรงก่อนนอนอย่างน้อย 30 นาที – 1 ชั่วโมง ซึ่งจะลดโอกาสการเกิดแบคทีเรียในช่องปากได้ดี

 

แต่หากต้องการดูแลช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรแปรงฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร ไม่ว่าจะมื้อใหญ่หรือมื้อจุกจิกก็ตาม เพื่อกำจัดเศษอาหารไม่ให้ตกค้างอยู่ในช่องปากนาน รวมถึงใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากควบคู่กันไปด้วย เพื่อการทำความสะอาดช่องปากอย่างมีประสิทธิภาพ

 

2. แปรงฟันแรงเกินไป

หลายคนอาจคิดว่ายิ่งแปรงฟันแรงเท่าไหร่ก็ยิ่งกำจัดคราบสกปรกออกจากปากได้ดีเท่านั้น นั่นเป็นความคิดที่ผิดครับ เนื่องจากการออกแรงแปรงมากอาจทำลายผิวเคลือบฟัน ทำให้ช่วงคอฟันสึกกร่อน ส่งผลให้เนื้อฟันถูกเปิดออก ทำให้รู้สึกเสียวฟันง่ายขึ้นเมื่อฟันสัมผัสกับอาหาร นอกจากนี้ยังมีอาการระคายเคืองของเหงือกและเหงือกร่นตามมา หากร้ายแรงอาจเป็นโรคเหงือกอักเสบได้ด้วย

 

3. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไม่เหมาะสม

3.1 การใช้แปรงสีฟันที่ไม่เหมาะกับช่องปาก

หากคุณใช้แปรงสีฟันที่แข็งเกินไปอาจส่งผลให้ฟันสึกกร่อนง่ายขึ้น แถมยังเกิดการระคายเคืองของขอบเหงือกและกลายเป็นแผลในช่องปาก หรือหากใช้แปรงที่มีแรงยึดขนแปรงกับหัวแปรงต่ำกว่ามาตรฐาน อาจทำให้ขนแปรงหลุดออกมาขณะใช้งาน หรือการใช้แปรงสีฟันขนาดใหญ่กว่าช่องปาก ทำให้การทำความสะอาดซี่ฟันด้านในไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

 

3.2 การใช้ยาสีฟันที่มีผงขัดหยาบมากเกินไป

ยาสีฟันทั่วไปควรมีค่าความสามารถในการขัด RDA (Relative Dentin Abrasiveness) อยู่ที่ 0 – 150 โดยผงขัดส่วนใหญ่ในยาสีฟันมีชนิดและ RDA แตกต่างกัน ดังนี้

  • Hydrated Silica มี RDA อยู่ที่ 40 – 120
  • Silica มี RDA อยู่ที่ 60 – 140
  • Calcium Carbonate มี RDA อยู่ที่ 80 – 120
  • Pumice มี RDA อยู่ที่ 170 – 250

ยาสีฟันที่มีผงขัดหยาบส่วนใหญ่จะเป็นยาสีฟันชนิดผงและยาสีฟันสำหรับผู้สูบบุหรี่เพื่อกำจัดคราบที่เกิดจากสารเคมีจากกระบวนการการเผาไม้ของกำมะถันหรือสารจำพวกทาร์ (น้ำมันดิน) สะสมอยู่บนผิวฟัน และแทรกซึมเข้าไปในชั้นเนื้อฟันและเป็นต้นเหตุของฟันเหลืองหรือฟันมีสีคล้ำลง จนอาจเกิดกลิ่นฝังได้เช่นกัน

 

ผงขัดในยาสีฟันมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ยิ่งมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งขจัดคราบฟันได้ดี เพียงแต่มีโอกาสที่จะขัดคราบไบโอฟิล์มและผิวฟันของเราออกไปด้วย ดังนั้นควรเลือกยาสีฟันที่มีผงขัดเกร็ดเล็ก, เป็นเนื้อครีม หรือเจลไปเลยจะปลอดภัยกว่าครับ

 

3.3 การใช้น้ำยาบ้วนปากแทนการแปรงฟันด้วยยาสีฟัน

หลายคนอาจคิดว่าน้ำยาบ้วนปากสามารถใช้ทำความสะอาดช่องปากได้ เพราะใช้แล้วช่วยดับกลิ่นปาก แต่ที่จริงแล้วการใช้น้ำยาบ้วนปากนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของฟลูออไรด์ให้คงอยู่ในช่องปากได้นานขึ้น ไม่ได้กำจัดเศษอาหารในช่องปากแต่อย่างใด ใช้แล้วเศษอาหารก็ไม่ได้หลุดออกอยู่ดี ดังนั้นจึงใช้แทนกันไม่ได้ครับ ทางที่ดีควรใช้ก่อนและหลังแปรงฟันโดยอมน้ำยาบ้วนปากเอาไว้ในปริมาณ 4-5 ช้อนชา (20 มิลลิลิตร) เป็นเวลา 30-60 วินาที กลั้วให้ทั่วช่องปากจากนั้นค่อยบ้วนทิ้งจะดีที่สุด

 

4. ทานอาหารทำร้ายฟัน

4.1 อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล

  • ขนมขบเคี้ยว, ลูกอม, ผลไม้กระป๋อง อาหารเหล่านี้มีส่วนผสมหลักคือน้ำตาลปริมาณสูง หากทานเข้าไปบ่อย ๆ จะไปทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียและเปลี่ยนเป็นกรดทำลายผิวเคลือบฟัน หากปล่อยให้กรดเหล่านี้เกาะบนผิวฟันนาน ๆ จะทำให้ผิวเคลือบฟันเสียหายและเป็นโรคฟันผุตามมา
  • น้ำหวานและเครื่องดื่มชูกำลัง แม้ว่าจะช่วยให้ร่างกายสดชื่น แต่ก็มีส่วนผสมของคาเฟอีน, กลูโคส, สารให้ความหวานและสารกระตุ้น ส่งผลให้กระสับกระส่าย, ใจสั่น, ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและกลายเป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลสูง นำมาสู่ภาวะโรคอ้วน, โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ชา กาแฟ ไวน์ มีส่วนผสมของสารแทนนินที่ก่อให้เกิดคราบเหลืองบนผิวฟัน ตามมาด้วยปริมาณของน้ำตาลและกรดสูง ทำลายผิวเคลือบฟัน ทำให้ฟันผุกร่อนง่าย หากเป็นชาหรือกาแฟร้อนก็อาจทำลายเนื้อเยื่อรอบปาก ทำให้ชั้นผิวบางลงตั้งแต่เหงือก, เพดานเหงือก ไปจนถึงกระพุ้งแก้มและลิ้น

 

4.2 อาหารและเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด

  • อาหารทอดและอาหารที่มีไขมันสูง ได้แก่ เบคอน, ชีส, เนย, เฟรนช์ฟรายส์, มันฝรั่งทอด, เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก กล้ามเนื้อหูรูดไม่กระชับ แถมยังเสี่ยงต่อภาวะไขมันสะสมจนกลายเป็นโรคอ้วนได้ด้วย
  • ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ได้แก่ ส้ม, มะนาว, เกรปฟรุต แม้ว่าผลไม้จะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากทานในปริมาณมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพแทน เพราะนอกจากผลไม้เหล่านี้จะทำลายผิวเคลือบฟันแล้วยังทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง เนื่องจากเกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด ได้แก่ น้ำอัดลม, โซดา, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีค่า pH อยู่ที่ 3-5 (มีค่าความเป็นกรดสูง) ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ

 

ลดพฤติกรรมเสี่ยงทำร้ายฟัน เพื่อการดูแลที่ดีกว่า

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือแปรงหลังทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที – 1 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เศษอาหารตกค้างและเกิดกรดในช่องปาก
  • ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากควบคู่กับการแปรงฟันทุกครั้งเพื่อความสะอาดที่มากกว่าการแปรงฟันอย่างเดียว
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียวเกินไป เพราะอาจทำให้ฟันใช้งานหนักและสึกเร็วขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เช่น เย็นจัด ร้อนจัด เปรี้ยวจัด เพื่อป้องกันการสึกกร่อนของผิวเคลือบฟัน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, เครื่องดื่มชูกำลัง, น้ำอัดลม, ชา, กาแฟ
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานฟันผิดวิธี เช่น ใช้ฟันเปิดขวด, กัดฟันแสดงอารมณ์โกรธ, กัดฟันจากความเคยชิน (โดยไม่รู้ตัว)
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจปะทะและทำให้ฟันได้รับการกระทบกระเทือน เช่น ขับรอมอเตอร์ไซค์, เล่นฟุตบอล (ควรใส่เฝือกสบฟันขณะทำกิจกรรมดังกล่าว)
  • พบหมอฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือพบทันทีที่มีปัญหาช่องปาก

 

บทความที่น่าสนใจ


ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม

 

คลินิกทันตกรรมเด็ก

 

คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน

 

สาขาทั้งหมดของ Homey Dental Clinic 




สาขากาญจนาภิเษก
ซอย 7/2 แขวง ศาลาธรรมสพน์
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
สาขาประดิษฐ์มนูญธรรม
991 ซอย ลาดพร้าว 87 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สาขา I’m Park จุฬา (เฉพาะเด็ก)
โครงการ I’mpark จุฬาฯ  355 ถนน เจริญเมือง แขวง วังใหม่ กรุงเทพมหานคร 10330



ทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะด้านนี้

ติดต่อเรา