ฟันงุ้ม: ภาวะอันตรายทำลายรอยยิ้มลูกน้อย
Posted: 1 March , 2022ฟันงุ้ม หรือฟันสบลึกเป็นหนึ่งในปัญหาที่หลายคนเผชิญจากการจัดฟันหรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์ก็ตาม ทำให้ใบหน้าดูแก่ขึ้นดูไม่เป็นธรรมชาติ ส่งผลให้รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองเวลายิ้มออกมา วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับปัญหาฟันงุ้มที่กวนใจใครหลายคนว่าสามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีใดบ้าง เพื่อให้คนที่ประสบภาวะดังกล่าวเข้าใจเพื่อเข้ารับการรักษาและนำรอยยิ้มที่มั่นใจกลับมาอีกครั้ง
ฟันงุ้มคืออะไร
เป็นภาวะการสบฟันผิดปกติรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากฟันหน้าบนคร่อมปิดฟันหน้าล่างมากเกินไปจนแทบมองไม่เห็น โดยความลึกของการคร่อมประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของฟันหน้าล่าง ซึ่งภาวะดังกล่าวส่งผลให้ใบหน้าสั้น ดูมีอายุมากกว่าวัย ทั้งนี้อาจมีภาวะฟันเก ฟันซ้อนและอื่นๆ ตามมา หากปล่อยให้ฟันสบลึกเป็นเวลานานจะทำให้ฟันสึก รู้สึกปวด จนสร้างความเสียหายให้กับเหงือกและรากฟันหน้า เสี่ยงต่อการรักษารากฟันเพิ่มเติมรวมถึงภาวะฟันล้มด้วย
.
สาเหตุของฟันงุ้ม
- พันธุกรรม
- สูญเสียฟันบริเวณฟันกรามด้านล่าง
- สูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนด
- ขากรรไกรเสียหาย
- ไม่มีพื้นที่ให้ฟันแท้ขึ้น
- พฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาฟัน เช่น การกัดเล็บ การนอนกัดฟัน ใช้ลิ้นดุนฟัน
.
วิธีรักษาฟันสบลึก
1. กรณีที่เป็นเด็ก
หมอฟันเด็กอาจใช้เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิดเพื่อกระตุ้นให้ขากรรไกรล่างเจริญเติบโตมากขึ้น
.
2. กรณีที่เป็นผู้ใหญ่
หมอฟันเด็กเลือกที่จะใส่อุปกรณ์สำหรับจัดฟันทั้งแบบลวดปกติและแบบใส นอกจากนี้ยังต้องรักษาปัญหาฟันอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น การผ่าตัดขากรรไกรหากปัญหาฟันสบลึก การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ยืดฟันกรามเพื่อให้ฟันหน้าด้านบนหรือล่างเคลื่อนสู่ตำแหน่งที่หมอฟันเด็กวางแผนรักษาไว้ หรืออาจต้องถอนฟันบางซี่ออก
.
วิธีดูแลหลังการถอนฟันแก้ฟันงุ้ม (เด็ก)
- ให้เด็กกัดผ้าก๊อซไว้ 30 นาที โดยเด็กจะต้องกลืนน้ำลายหรือเลือดเข้าไปเพื่อช่วยให้เลือดหยุดไหลเร็วขึ้น
- หากเลือดยังไม่หยุดไหลภายใน 30 นาที ควรเปลี่ยนผ้าก๊อซใหม่เพื่อให้เด็กกัดต่ออีก 15 นาที หรือจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
- จากนั้นให้เด็กทานยาแก้ปวด หรือยาแก้อักเสบตามที่หมอฟันเด็กสั่งภายในช่วง 4 – 6 ชั่วโมง ส่วนยาแก้อักเสบจะต้องทานให้ครบตามที่หมอฟันเด็กสั่ง
- ควรให้เด็กรับประทานอาหารอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารแข็งและมีรสจัด
- ในช่วง 1-2 ชั่วโมงหลังการรักษา คุณพ่อคุณแม่ควรระวังไม่ให้เด็กกัดหรือหยิกบริเวณที่ชา เพราะอาจเกิดแผลหลังจากยาชาหมดฤทธิ์
- หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูดและการดูดจุกนม เพราะอาจกระแทกโดนแผลที่รักษา
- แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อให้แผลหายไวขึ้น
- ควรกระตุ้นให้เด็กบ้วนปากหลังรับประทานอาหาร เพื่อไม่ให้เศษอาหารตกลงไปในช่องโหว่จากแผลที่เกิดจากการรักษา
.
วิธีดูแลหลังการจัดฟันแก้ฟันงุ้ม (ผู้ใหญ่)
- แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือแปรงทุกครั้งหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 30 นาที
- ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากทุกครั้งหลังการแปรงฟัน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัดหรือแข็งเกินไป เพื่ออาจทำให้ปวดฟัน
- มาปรับเครื่องมือตามนัดของหมอฟันเด็ก
- ใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน
- พบหมอฟันเด็กทุก 6 เดือน
บทความที่น่าสนใจ
- โรคฟันผุในเด็ก: ปัญหาสำคัญที่ทำร้ายเด็กโดยไม่รู้ตัว
- รักษาภาวะฟันเกินก่อนจะสายเกินแก้
- 12 ความเชื่อเรื่องฟันที่ผิด หากเข้าใจแบบนี้อยู่ต้องรีบแก้โดยด่วน!!
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน