รักษากระดูกฟันที่สูญเสียไปด้วยการปลูกกระดูกฟัน
Posted: 23 March , 2022เด็กหลายคนอาจกำลังประสบกับการสูญเสียฟันก่อนวัย ส่งผลให้มีปัญหาฟันตามมา เช่น ฟันล้ม ฟันซ้อน ซึ่งการรักษากระดูกฟันที่สูญเสียไปด้วยการปลูกกระดูกฟันจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว แล้วรู้หรือไม่ว่าการปลูกกระดูกฟันคืออะไร วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากทุกคนครับ
การปลูกกระดูกฟันคืออะไร
เป็นวิธีการรักษากระดูกที่สลายจากการถอนฟันหรือสูญเสียฟันจากอุบัติเหตุและทำให้ฟันหลุดออกเอง เนื่องจากกระดูกบริเวณที่สูญเสียฟันไปนั้นจะเริ่มฝ่อตัว ส่งผลต่อปัญหาช่องปากอื่นๆ ตามมา เป็นการรักษาที่เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีกระดูกขากรรไกรไม่เพียงพอ เช่น ปลูกรากฟันเทียม หรือมีรูปหน้าผิดปกติ ฯลฯ โดยแพทย์จะใช้วัสดุชนิดต่างๆ ที่ปลอดเชื้อเพื่อทำเป็นกระดูกสำหรับการรักษา เช่น กระดูกสังเคราะห์ที่สกัดมาจากกระดูกของคนไข้เอง กระดูกจากสิ่งมีชีวิตที่มีสปีชีส์เดียวกัน กระดูกจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น และกระดูกสังเคราะห์ที่ทำจากแคลเซียม ฟอสเฟต ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือติดเชื้อตามมา
.
การปลูกกระดูกฟันมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
1. การปลูกถ่ายกระดูกเบ้าฟัน
เป็นการปลูกถ่ายกระดูกที่เบ้าฟันเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกขากรรไกรบนและล่างเสื่อม สามารถทำพร้อมกับการฝังรากเทียมภายหลังการถอนฟันเพื่อลดความเจ็บปวดลง
.
2. การปลูกถ่ายกระดูกสันขากรรไกร
เป็นการเพิ่มความยาวของกระดูกขากรรไกรเพื่อรองรับการฝังรากเทียม
.
3. การปลูกกระดูกแบบชิ้น
เป็นการปลูกถ่ายเพื่อเพิ่มขนาดหรือปริมาณกระดูกโดยใช้กระดูกของคนไข้ในการปลูกถ่าย ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนก่อนการทำการฝังรากเทียม
.
4. การปลูกกระดูกในไซนัส
เหมาะกับกรณีที่ไซนัสย้อยลงมาจนทำให้กระดูกในฟันหลังบนสูงไม่พอที่จะฝังรากฟันเทียม เป็นการปลูกกระดูกในไซนัสบริเวณฟันหลังบนเพื่อให้กระดูกสูงขึ้น และป้องกันไม่ให้รากเทียมหลุดเข้าไปในไซนัส ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือนก่อนการทำการฝังรากเทียม
.
ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด
- เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกและการติดเชื้อ
- เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาท
- เกิดผลข้างเคียงของยาระงับความรู้สึก
- บางกรณีกระดูกที่ปลูกไม่เข้ากับกระดูกของคนไข้
.
ขั้นตอนการปลูกกระดูก
- แพทย์ตรวจเช็คช่องปากเพื่อวางแผนการรักษา
- (หากใช้กระดูกของคนไข้) แพทย์จะตัดกระดูกของคนไข้จากส่วนอื่นมาปลูกถ่ายบริเวณกระดูกขากรรไกรที่มีปัญหา
- (หากใช้วัสดุทดแทน) แพทย์จะนำวัสดุมาปลูกถ่ายทันที
- หลังจากปลูกกระดูกเสร็จ ต้องรอให้กระดูกพัฒนาจนสามารถฝังรากฟันเทียมได้ภายใน 3-6 เดือน
- แพทย์จะฝังอุปกรณ์รากเทียมลงบริเวณกระดูกขากรรไกร จากนั้นจึงใส่ตัวยึดรากฟันเทียมกับครอบฟันและตัวฟันปลอม
.
วิธีดูแลตัวเองหลังจากการผ่าตัดปลูกกระดูก
- รับประทานอาหารอ่อนภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังจากการผ่าตัด และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล
- ดื่มน้ำให้เพียงพอจนกว่าพยาบาลจะเอาสานน้ำเกลือทางหลอดเลือดออก เพื่อให้คนไข้กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน
- แพทย์จ่ายยาระงับปวดเพื่อลดอาการปวดแผล ควบคู่กับยาปฏิชีวนะในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก
- คนไข้ควรทำความสะอาดช่องปากด้วยการบ้วนปากเบาๆ
- หากปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ แนะให้เช็ดตัวเพื่อให้ปากแผลไม่อับชื้น
- แพทย์นัดติดตามผลการรักษาหลังจากผ่าตัด 1 สัปดาห์
- หากมีไข้สูง หายใจลำบาก มีเลือดหรือหนองออกจากแผล ให้รีบมาพบทแพทย์ทันที
.
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกน้อยตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาฟันที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ถ้าหากใครกำลังมองหาคลินิกทำฟันให้ลูกน้อยสักแห่งที่มีหมอฟันเด็กผู้เชี่ยวชาญ รู้หลักจิตวิทยาสามารถคุยและรับมือกับเด็กได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีสถานที่ที่ให้เด็กผ่อนคลายก่อนและหลังทำฟัน ทางเรา Homey Dental Clinic ยินดีให้บริการทุกท่านด้วยใจเพื่อให้ลูกน้อยของท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลฟันที่ถูกต้องและมีความสุขทุกครั้งที่มาทำฟันกับเรา
บทความที่น่าสนใจ
- รวมข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับการฝังรากฟันเทียม
- การรักษารากฟันสำคัญกว่าที่คุณคิด
- ความสำคัญในการเกลารากฟันที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน