ฟันสึก รู้เร็วรักษาได้ไม่ต้องรอให้บานปลาย

Posted: 1 March , 2022

หากลูกน้อยรู้สึกเสียวฟันระหว่างรับประทานอาหารนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะฟันสึกซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงอายุ 4-6 ปี เนื่องจากฟันน้ำนมยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร และวันนี้เราจะพามาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะฟันสึกเพื่อจะได้ไม่ชะล่าใจและรักษาได้ถูกต้องตามอาการนั่นเองครับ

 

ฟันสึก

 

ฟันสึกเกิดจากอะไร

ภาวะฟันสึกเกิดจากการสูญเสียผิวหน้าฟันโดยเฉพาะบริเวณคอฟันทำให้รูปร่างฟันเปลี่ยนแปลงไป มักพบฟันที่สึกอยู่บริเวณฟันซี่หน้าสุดซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการกัด และฟันด้านที่ใช้เคี้ยวอาหารทั้งหมด ฟันสึกแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฟันสึกจากภายในและฟันสึกจากภายนอก ฟันสึกจากภายในเกิดจากกรดไหลย้อน ส่วนฟันสึกจากภายนอกเกิดจากอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด-ด่าง ต่ำกว่าความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย

 

สาเหตุที่ทำให้ฟันสึก

  • แปรงฟันแรงเกินไป หรือใช้แปรงขนแข็งเกินไป
  • ใช้ยาสีฟันที่มีผงขัดมากเกิน
  • รับประทานอาหารที่แข็งหรือเหนียวเกินไป
  • รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง เช่น น้ำมะนาว น้ำอัดลม
  • พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำโดยความเคยชิน เช่น การนอนกัดฟัน หรือการสัมผัสกับน้ำในสระที่ผสมสารคลอรีนผ่านการว่ายน้ำ

 

อาการที่เกิดจากฟันสึก

  • เสียวฟันขณะรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสจัด
  • เสียวฟันขณะแปรงฟัน
  • เมื่อฟันสึกเข้าไปใกล้โพรงประสาทฟัน ทำให้ปวดฟันได้
  • สีและรูปฟันเปลี่ยนไป
  • มีเศษอาหารติดบริเวณรอยสึกอยู่บ่อยครั้ง

 

รักษาฟันสึกอย่างไรให้ใช้งานได้ดังเดิม

ในกรณีที่รู้สึกเสียวฟันไม่บ่อยครั้ง แนะนำให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ และใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสารลดการเสียวฟัน แต่หมอฟันเด็กจะอุดคอฟันด้วยวัสดุคอมโพสิตเรซิน หรือกลาสไอโอโนเมอร์ในกรณีที่พบว่าฟันสึกมาก หากฟันสึกถึงโพรงประสาทฟันจนรู้สึกปวดทรมาน หมอฟันเด็กจะรักษาคลองรากฟัน ตามด้วยการอุดฟันหรือครอบฟัน

 

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดฟันสึก

  • แปรงฟันให้ถูกวิธี โดยฟันล่างให้ปัดแปรงขึ้น ส่วนฟันบนให้ปัดแปรงลง
  • เลือกแปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง
  • ดื่มน้ำหลังจากรับประทานอาหารทันที เพื่อลดความเป็นกรดในช่องปาก
  • ไม่ควรแปรงฟันหลังมื้ออาหารทันที เนื่องจากผิวฟันมีสภาพอ่อนนุ่ม มีโอกาสทำให้ฟันสึกมากขึ้น
  • ทำความสะอาดช่องปากอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือทุกครั้งหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 30 นาที
  • ใช้ไหมขัดฟันในกรณีที่เศษอาหารยังหลงเหลือจากการแปรงฟัน
  • ครอบฟันหากต้องการรักษาอาการนอนกัดฟัน
  • พบหมอฟันเด็กทุกๆ 6 เดือน

 

ฟันสึกอาจเกิดได้ในช่วงที่ฟันน้ำนมขึ้นอยู่ เนื่องจากฟันน้ำนมมีชั้นเคลือบฟันบางกว่าและผิวแข็งน้อยกว่าฟันแท้ ทำให้ฟันน้ำนมสึกกร่อนถึงชั้นเนื้อฟันได้เร็วกว่าฟันแท้ด้วย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการดูแลฟันน้ำนมของลูกให้ดี เพื่อที่เราจะได้เห็นลูกน้อยมีความสุขทุกครั้งที่ได้ยิ้มและได้ทานของอร่อยนั่นเอง

บทความที่น่าสนใจ


ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม

 

คลินิกทันตกรรมเด็ก

 

คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน

 

สาขาทั้งหมดของ Homey Dental Clinic 




สาขากาญจนาภิเษก
ซอย 7/2 แขวง ศาลาธรรมสพน์
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
สาขาประดิษฐ์มนูญธรรม
991 ซอย ลาดพร้าว 87 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สาขา I’m Park จุฬา (เฉพาะเด็ก)
โครงการ I’mpark จุฬาฯ  355 ถนน เจริญเมือง แขวง วังใหม่ กรุงเทพมหานคร 10330



ทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะด้านนี้

ติดต่อเรา