ข้อดี-ข้อเสียที่ต้องรู้ของการทำวีเนียร์

Posted: 16 September , 2022

สำหรับใครที่ต้องรักษาปัญหาฟันด้วยการทำวีเนียร์เป็นครั้งแรก อาจสงสัยว่าการรักษาแบบนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไร หากไม่รับการรักษาด้วยวิธีนี้แล้วมีวิธีอื่นแนะนำมั้ย วันนี้เรามีคำตอบ

การทำวีเนียร์

การทำวีเนียร์คืออะไร

เป็นการรักษาปัญหาฟันผิดรูปจากปัญหาฟันบิ่น, ฟันหัก, ฟันแตก, ฟันห่างเล็กน้อย ฟันถูกกระแทกจนได้รับความเสียหายอย่างหนัก, ฟันซี่นั้นมีสีแตกต่างจากฟันซี่อื่น ๆ เช่น ฟันเหลืองหรือฟันดำ ทำให้ไม่มั่นใจขณะยิ้ม, ฟันมีรูปทรงผิดปกติ, มีช่องห่างระหว่างฟันมากกว่าคนทั่วไป รวมถึงผู้ที่ต้องการป้องกันผิวฟันในระยะยาวด้วย ส่วนขั้นตอนในการรักษานั้นคุณหมอจะกรอผิวหน้าฟันออกและตกแต่งฟันให้สวยงามแข็งแรงด้วยวีเนียร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายผิวเคลือบฟันธรรมชาติ ทั้งในเรื่องของสีฟันที่ใกล้เคียงกับฟันของจริงและความหนาบางของตัวฟัน ทำให้ฟันที่ได้สวยงามตามต้องการ วีเนียร์โดยทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ 10-15 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาของแต่ละบุคคล

 

วีเนียร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

  • Traditional Veneers เป็นการทำวีเนียร์แบบทั่วไป โดยคุณหมอจะตกแต่งหรือเจียหน้าฟันออก
  • No-Prep เป็นการทำวีเนียร์แบบไม่ต้องเจียหน้าฟันออก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของหมอฟันและความเหมาะสมของรูปทรงฟันสำหรับบางคนเท่านั้น

 

วัสดุทำวีเนียร์มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

  • คอมโพสิต (Composite veneers) เป็นวีเนียร์ที่ทำมาจากวัสดุชนิดเดียวกับวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน จึงให้ความสวยงามคล้ายผิวเคลือบฟันธรรมชาติ เพียงแต่ขาดความเงาเท่านั้น คอมโพสิตวีเนียร์ผลิตโดยการนำเรซินคอมโพสิตมาขึ้นรูปตามต้องการและฉายแสงฮาโลเจนจนแข็งตัว จากนั้นหมอฟันจะขัดแต่งรูปฟันเพื่อสร้างผิวฟันใหม่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด และปิดทับผิวเคลือบฟันเก่า ส่วนข้อจำกัดของวีเนียร์ประเภทนี้อยู่ที่ความเปราะบาง จึงทำให้แตกง่ายหากทานอาหารที่แข็งหรือเหนียวเกินไป แถมยังดูดซึมสีจากอาหารง่ายกว่าแบบพอร์ซเลน ส่วนอายุการใช้งานจะอยู่ที่ประมาณ 4-5 ปี หลังจากนี้ตัววีเนียร์อาจเปลี่ยนสีไปและติดสีจากอาหารง่ายขึ้น

 

  • พอร์ซเลน (Porcelain veneers) เป็นวีเนียร์ที่ทำมาจากเซรามิกที่ใช้ในทางการแพทย์ จึงให้ความสวยและความเงาเหมือนผิวเคลือบฟันธรรมชาติ พอร์ซเลนวีเนียร์ผลิตด้วยเทคโนโลยี 3D CAD CAM จากห้องเเล็บ โดยใช้กล้อง 3 มิติ สแกนโครงหน้าและรอยยิ้มของคนไข้ จากนั้นจึงส่งข้อมูลไปยังห้องปฏิบัติการทันตกรรมเพื่อออกแบบสีและขนาดของวีเนียร์ให้รับกับฟันด้านหน้าของคนไข้ วีเนียร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสีของฟัน เช่น ฟันสีเทาจากยาปฏิชีวนะตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา, ฟันที่มีรูปร่างผิดปกติจากสาเหตุต่าง ๆ และผู้ที่มีปัญหาเรื่องผิวหน้าฟัน นอกจากนี้ วีเนียร์ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ผิวฟัน ส่วนตัวเซรามิกที่นำมาทำวีเนียร์มีคุณสมบัติพิเศษ ช่วยให้สีจากคราบอาหารและบุหรี่ติดลงบนฟันได้ยากขึ้นด้วย

 

ข้อดีของการทำวีเนียร์

  • ลดโอกาสที่ฟันติดคราบจากอาหาร, เครื่องดื่ม และบุหรี่
  • ช่วยซ่อมแซมฟันที่สึกกร่อนหรือถูกทำลายจากปัญหาฟัน
  • ป้องกันปัญหาผิวฟันถูกทำร้าย
  • ปรับแต่งรูปฟันให้สวยขึ้น
  • ปกปิดสีฟันที่ไม่สวยงาม
  • ปิดช่องว่างระหว่างฟันห่าง

 

ข้อเสียของการทำวีเนียร์

  • ค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูงตามประเภทของวัสดุที่ใช้
  • เสียวฟันง่ายขึ้นเมื่อทานอาหารร้อนหรือเย็นจัด (โดยเฉพาะหลังจากใส่เคลือบฟันไม่นาน) แต่อาการเหล่านี้สามารถหายได้เองด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากที่ช่วยลดอาการเสียวฟัน ตามคำแนะนำของคุณหมอ
  • คุณหมอจะต้องเปลี่ยนโครงสร้างฟันตามธรรมชาติของคุณเพื่อให้ติดวีเนียร์ โดยการขูดชั้นผิวด้านหน้าของฟันเพื่อให้ติดวีเนียร์ได้อย่างแนบสนิท ดังนั้นคุณควรตัดสินใจให้ดี เนื่องจากจะต้องติดวีเนียร์ที่ฟันอย่างถาวร
  • ไม่ควรทำวีเนียร์หลายครั้ง เพราะจะทำให้สูญเสียผิวเคลือบฟันถาวร
  • เนื่องจากต้องเขาพบคุณหมออย่างน้อยประมาณ 3 ครั้ง อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกในช่วงเวลานั้น ๆ
  • ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หากวีเนียร์เกิดความเสียหาย แถมยังใช้เวลานานด้วย
  • เมื่อวีเนียร์แตกหักหรือหลุด จากการดูแลไม่เพียงพอ อาจเพิ่มโอกาสที่ฟันคู่จะสบสึกด้วย (ฟันหน้าล่างสบกับโคนฟันหน้าบน หรือสบโดนโคนเหงือกด้านหน้าบน) และมีอาการเจ็บปวดตามมา

 

การทำวีเนียร์แตกต่างจากการครอบฟันอย่างไร

  • วีเนียร์เน้นการตกแต่งรูปลักษณ์ของฟันเพื่อความสวยงาม ส่วนการครอบฟันจะเน้นรักษาปัญหาฟันควบคู่กับการรักษารากฟันหรือทำรากฟันเทียม
  • วีเนียร์จะบางกว่าการครอบฟันและติดเพียงด้านหน้าฟันเท่านั้น ส่วนการครอบฟันจะครอบอุปกรณ์ลงบนฟันซี่นั้นและต้องกรอฟันมากกว่า

 

ควรดูแลช่องปากอย่างไรหลังจากทำวีเนียร์

  • ทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือทุกครั้งหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 30-60 นาที
  • ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากควบคู่กับการแปรงฟันเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ฟันผิดวิธี เช่น กัดของแข็ง, ใช้ฟันเปิดฝา
  • จัดการปัญหาฟันที่เกิดจากความเคยชินตามคำแนะนำของคุณหมอ เช่น นอนกัดฟัน หรือกัดฟันทุกครั้งที่รู้สึกโกรธ ต้องรักษาด้วยการใส่เฝือกสบฟัน
  • พบหมอฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือ 3 เดือนในกรณีที่มีปัญหาฟันเรื้อรัง
  • พบหมอฟันทันทีที่มีปัญหาฟัน เช่น ประสบอุบัติเหตุจนฟันบิ่น, แตกหรือหลุดออกจากช่องปาก

 

บทความที่น่าสนใจ


ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม

 

คลินิกทันตกรรมเด็ก

 

คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน

 

สาขาทั้งหมดของ Homey Dental Clinic 




สาขากาญจนาภิเษก
ซอย 7/2 แขวง ศาลาธรรมสพน์
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
สาขาประดิษฐ์มนูญธรรม
991 ซอย ลาดพร้าว 87 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สาขา I’m Park จุฬา (เฉพาะเด็ก)
โครงการ I’mpark จุฬาฯ  355 ถนน เจริญเมือง แขวง วังใหม่ กรุงเทพมหานคร 10330



ทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะด้านนี้

ติดต่อเรา