เคลือบฟลูออไรด์เด็กมีกี่ขั้นตอน ช่วยดูแลฟันลูกได้ยังไงบ้างนะ

Posted: 21 June , 2022

เนื่องจากฟันเด็กเป็นฟันน้ำนมซึ่งแข็งแรงน้อยกว่าฟันแท้ จึงต้องดูแลด้วยวิธีต่าง ๆ รวมถึงการเคลือบฟลูออไรด์เด็กด้วย แล้ววิธีนี้มีกี่ขั้นตอน? ยุ่งยากมั้ย? แล้วช่วยให้ฟันแข็งแรงขึ้นอย่างไรบ้าง ลองมาอ่านกันครับ

เคลือบฟลูออไรด์เด็ก

ข้อดีของการเคลือบฟลูออไรด์เด็ก

  • ฟันแข็งแรงเนื่องจากทนต่อการกัดกร่อนของแบคทีเรียที่มาจากแป้งและน้ำตาลจากอาหารที่เรากิน
  • หยุดการลุกลามของปัญหาฟันผุ หากใช้ฟลูออไรด์ในระยะแรกที่ฟันผุ
  • ปรับสมดุลของแบคทีเรียในช่องปาก โดยเสริมสร้างแบคทีเรียชนิดดี และยับยั้งแบคทีเรียชนิดไม่ดีไม่ให้กัดกร่อนเคลือบฟัน

 

เด็กแบบไหนบ้างที่ต้องเคลือบฟลูออไรด์

  • เด็กที่ไม่ชอบแปรงฟัน หรือแปรงฟันแปบ ๆ ก็เสร็จ
  • เด็กที่ชอบบ้วนปากแทนการแปรงฟัน
  • เด็กที่ชอบกัดสิ่งของ หรือนอนกัดฟันตลอดเวลา
  • เด็กที่ไม่ชอบทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะเฟรนช์ฟรายส์ และน้ำอัดลม หรือชอบทานอาหารจุกจิกระหว่างวัน
  • เด็กเล็กที่ทำความสะอาดช่องปากยาก

 

ความปลอดภัยในการเคลือบฟลูออไรด์

การเคลือบฟลูออไรด์อาจเกิดอันตรายได้หากใช้เกินขนาด หรือเด็กกลืนลงคอมากเกินไปก็อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจเกิดจุดบนฟันที่กำลังงอกขึ้น ดังนั้นจึงควรปรึกษาหมอฟันทุกครั้งที่เคลือบฟลูออไรด์

 

เด็กเคลือบฟลูออไรด์แบบไหนได้บ้าง มีขั้นตอนยุ่งยากมั้ย

การเคลือบฟลูออไรด์สำหรับเด็กมี 2 แบบ ได้แก่

 

1. เคลือบฟลูออไรด์แบบวานิช

เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี หรือเด็กที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือในการเคลือบโดยง่าย หมอฟันเด็กจะแปรง หรือขัดฟันของเด็กให้แห้งสะอาด จากนั้นก็ใช้พู่กันทาฟลูออไรด์วานิชบริเวณผิวฟัน หากพบฟันผุ หมอฟันจะทาเน้นไปที่จุดผุสีขาวที่อาจอยู่ด้านบดเคี้ยวและด้านประชิดในซอกฟัน เพื่อทำให้เกิดผลึกแคลเซียมบริเวณเคลือบฟันช่วยระงับรอยผุของฟันและป้องกันฟันผุได้ดี โดยระวังไม่ให้โดนเหงือก เพราะอาจเกิดการระคายเคืองในช่องปาก

 

2. เคลือบฟลูออไรด์แบบเจล

เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 ปีขึ้นไป มีวิธีการเคลือบโดยหมอฟันจะใส่ถาดเคลือบฟลูออไรด์ตามจำนวนฟันและใส่ฟลูออไรด์ ⅓ ของความสูงถาด นำถาดครอบเข้าไปในช่องปากทั้งฟันบน-ล่าง พร้อมกับหลอดดูดน้ำลายเพื่อดูดฟลูออไรด์ส่วนเกินและเอาน้ำลายออก ป้องกันไม่ให้เด็กได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต จากนั้นหมอฟันจะจับเวลาประมาณ 4 นาที แล้วให้เด็กบ้วนน้ำลายและฟลูออไรด์ออก โดยหมอฟันจะใช้หลอดดูดน้ำลายดูดฟลูออไรด์ในช่องปากให้มากที่สุด

 

3. เคลือบด้วยซิลเวอร์ไดอะมีนฟลูออไรด์ (Silver diamine fluoride)

เป็นสารที่ใช้ทาผิวฟันผุเพื่อยับยั้งอาการฟันผุหลาย ๆ จุด โดยบริเวณที่ฟันหยุดผุนั้นจะทิ้งรอยด่างลักษณะสีน้ำตาลหรือดำ

 

ดูแลตัวเองหลังเคลือบฟลูออไรด์อย่างไรบ้าง

  • งดดื่มน้ำและงดรับประทานอาหาร 30 นาที
  • รับประทานแต่อาหารอ่อนและน้ำ งดรับประทานอาหารที่แข็งหรือเหนียวเกินไป
  • งดแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันบริเวณที่เคลือบฟลูออไรด์เป็นเวลา 1 วันเต็ม เพื่อให้ฟลูออไรด์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • คราบเหลืองที่ติดตามฟันหลังจากการเคลือบจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน
  • หากพบความผิดปกติในช่องปาก ให้รีบพาลูกไปพบหมอฟันเด็กทันที

 

ควรพาลูกมาเคลือบฟลูออไรด์กี่ครั้งต่อปี

  • เด็กที่มีความเสี่ยงต่ำ ควรเคลือบฟลูออไรด์ 1 ครั้ง/ปี
  • เด็กที่มีความเสี่ยงปานกลาง ควรเคลือบฟลูออไรด์ 1 ครั้ง/6 เดือน
  • เด็กที่มีความเสี่ยงสูง ควรเคลือบฟลูออไรด์ 1 ครั้ง/3 เดือน

 

นอกจากเคลือบฟลูออไรด์แล้ว เราจะได้รับฟลูออไรด์จากไหนได้บ้าง

1. น้ำดื่ม

ในน้ำดื่มมีปริมาณฟลูออไรด์แตกต่างกันตามประเภทและยี่ห้อของน้ำดื่ม โดยทั่วไปควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้วขึ้นไป เพื่อให้ได้รับฟลูออไรด์ 0-1 มิลลิกรัมต่อวัน

 

2. ยาสีฟัน

ในยาสีฟันทุกยี่ห้อจะมีส่วนผสมหลักของฟลูออไรด์อยู่เสมอ เพียงแต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เด็กกลืนยาสีฟันมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการแพ้จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อยาสีฟันสำหรับเด็กที่มีปริมาณฟลูออไรด์ 1,000 ppm หรือไม่ควรเกิน 1,500 ppm ตามกำหนดของสมาคมทันตกรรมสำหรับเด็ก

3. ฟลูออไรด์เม็ด

เป็นฟลูออไรด์เสริมที่ช่วยยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุจากการละลายของกรด และช่วยให้กระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุในฟันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะของฟลูออไรด์เม็ดมีทั้งแบบอมในปาก และแบบเคี้ยวก่อนกลืน ซึ่งฟลูออไรด์เม็ดจะมีปริมาณฟลูออไรด์อยู่ที่ 0.25-1 มิลลิกรัม เหมาะสำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการฟันผุ โดยการใช้ฟลูออไรด์เม็ดจะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของหมอฟันและอายุของเด็กด้วย

 

 

แม้ว่าจะเคลือบฟลูออไรด์เป็นประจำก็ตาม แต่อย่าลืมดูแลช่องปากของลูกน้อยอย่างเคร่งครัด, หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาฟัน และควรพาลูกน้อยไปพบหมอฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจเช็กปัญหาฟันที่ไม่มองเห็นได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงในอนาคต

 

บทความที่น่าสนใจ

วิธีการดูแลฟันน้ำนมอย่างไรให้ถูกวิธี

สอนลูกแปรงฟันถูกวิธี มีชัยไปกว่าครึ่ง

วิธีการเลือกซื้อยาสีฟันเด็ก


ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม

 

คลินิกทันตกรรมเด็ก

 

คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน

 

สาขาทั้งหมดของ Homey Dental Clinic 




สาขากาญจนาภิเษก
ซอย 7/2 แขวง ศาลาธรรมสพน์
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
สาขาประดิษฐ์มนูญธรรม
991 ซอย ลาดพร้าว 87 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สาขา I’m Park จุฬา (เฉพาะเด็ก)
โครงการ I’mpark จุฬาฯ  355 ถนน เจริญเมือง แขวง วังใหม่ กรุงเทพมหานคร 10330



ทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะด้านนี้

ติดต่อเรา