เห็นลูกปวดเหงือกก็ปวดใจ คุณพ่อคุณแม่จะช่วยบรรเทาอาการได้ยังไงบ้างนะ

Posted: 17 May , 2022

คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายคงไม่สบายใจหากได้ยินเสียงร้องจากอาการปวดเหงือกของลูกน้อยขณะกินข้าว แปรงฟัน หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตก็ตาม วันนี้เรามีวิธีการสังเกตอาการปวดเหงือก และวิธีการรักษาตามสาเหตุมาฝากทุกคนกันครับ

ลูกปวดเหงือก

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กปวดเหงือก

นอกจากโรคเหงือกอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเหงือกในเด็กแล้ว ยังมีเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูแลช่องปากอย่างแปรงสีฟันที่แข็งเกินไป ใช้ไหมขัดฟันไม่เหมาะกับเด็ก การรับประทานอาหารที่แข็งเกินไป รวมถึงการได้รับวิตามินบำรุงฟันน้อยเกินไป และการพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เด็กปวดเหงือกง่ายขึ้น

.

ดูได้ยังไงว่าลูกปวดเหงือก

1. เหงือกเปลี่ยนสีเข้มขึ้น

โดยปกติเหงือกคนเราจะมีสีชมพูหรือแดงอ่อน แต่หากเหงือกเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือม่วงเข้ม แสดงว่าเหงือกเกิดความผิดปกติแน่นอน

.

2. เหงือกขยายใหญ่ขึ้น

อาการปวดเหงือกจะมาพร้อมกับขนาดเหงือกที่นูนออกมาเพียงบางส่วน หรือขยายใหญ่ขึ้นจนบังเนื้อฟันบริเวณนั้น หากถูกสัมผัสบริเวณเหงือกจะรู้สึกปวด

.

3. ปวดเหงือกจนต้องร้องออกมา

เนื่องจากเหงือกบวมออกมาทำให้สัมผัสกับอาหารหรือสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในช่องปากง่ายขึ้น ทำให้รู้สึกเจ็บขณะรับประทานอาหาร แปรงฟัน หรือแม้แต่ยิ้มก็ตาม เนื่องจากแบคทีเรียแพร่กระจายและเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อและเส้นประสาทโดยรอบ เวลาฟันกระทบกันจึงรู้สึกปวดขึ้นมา

.

4. เลือดออกขณะแปรงฟัน

หากแบคทีเรียที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มอยู่ในช่องปาก หรือที่เรียกว่าคราบพลัค ก่อตัวรอบตัวฟันจนเหงือกระคายเคืองและเหงือกบวมตามมา รวมถึงมีเลือดออกขณะแปรงฟัน โดยอาจซึมออกตามไรฟันและขอบเหงือกด้วย

.

5. มีหนองขึ้นที่เหงือกบวม

หลังจากปล่อยให้เหงือกบวมแดงเป็นเวลานานหรือไม่หายไปเอง จนมีตุ่มหนองสีขุ่นๆ ตัวเหงือกจะเปลี่ยนสีจากแดงไปเป็นแดงเข้มและม่วง หากสัมผัสบริเวณที่มีเหงือกบวมอาจมีหนองไหลออกมา

.

ผลเสียจากการปล่อยให้ลูกปวดเหงือกเป็นเวลานาน

  • รับประทานอาหารได้น้อยกว่าปกติ จนขาดสารอาหารบางประเภท
  • กระดูกขากรรไกรเสื่อมจากภาวะเหงือกบวมจนกลายเป็นเหงือกอักเสบ ส่งผลให้ฟันร่วงในที่สุด
  • ติดเชื้อจากฝีหรือหนองในฟัน ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ และเข้าสู่กระแสเลือด เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
  • หากปล่อยไว้นานๆ อาจเกิดเซลล์มะเร็งในช่องปากลุกลามเสียหายไปยังเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ จนกลายเป็นมะเร็งช่องปาก

.

แล้วมีวิธีรักษาอาการปวดเหงือกได้บ้างมั้ย

1. เหงือกบวมในระดับปกติ

หากเกิดจากการทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีจนเกิดแบคทีเรียในช่องปากสะสมอยู่มาก ก็ควรเปลี่ยนวิธีการทำความสะอาดช่องปากใหม่ด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันถี่ขึ้น จากเดิมที่แปรงฟันเพียงวันละ 2 ครั้ง ก็เปลี่ยนมาทำความสะอาดทุกครั้งหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 30 นาที โดยใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากเพื่อการทำความสะอาดที่ถูกวิธี รวมถึงขูดหินปูนซึ่งสามารถกำจัดแบคทีเรียที่สะสมเป็นคราบพลัคได้ดีกว่าการแปรงฟันปกติ ซึ่งช่วยลดอาการเหงือกบวมได้อย่างเห็นผล

.

2. เหงือกบวมจากฟันคุด

หากเหงือกอักเสบจนเป็นหนองบริเวณฟันกรามซี่สุดท้าย หมอฟันจะใช้วิธีฉายภาพรังสีและผ่าฟันคุดซี่นั้นออก หลังจากการผ่าตัดจะต้องกินยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จนกว่าจะหายปวดเหงือก

.

3. รากฟันอักเสบ

ในกรณีที่หมอฟันวินิจฉัยแล้วว่าพบว่าเหงือกอักเสบจากหนองที่เกิดจากเชื้อโรคและรอยโรคเรื้อรัง สามารถเก็บฟันซี่นั้นไว้ได้โดยการรักษารากฟัน แต่หากรักษาไม่ได้อาจต้องถอนฟันซี่นั้นออก

.

4. รอยโรคในช่องปาก

เช่น มะเร็งหรือเนื้องอกในช่องปากซึ่งเกิดจากเด็กได้รับแสงแดดมากเกินไป อาจต้องตัดชิ้นเนื้อหากเป็นชิ้นเนื้อที่มีระดับความรุนแรงน้อย แต่หากเป็นมะเร็งอาจต้องรักษาด้วยการฉายแสงและเคมีบำบัด

.

5. เหงือกบวมจากอุปกรณ์จัดฟัน

หากสาเหตุเกิดจากเหล็กจัดฟัน หรือรีเทนเนอร์ หมอฟันจะเปลี่ยนอุปกรณ์จัดฟันให้เพื่อให้ใส่สบายและไม่เกิดการระคายเคืองในช่องปาก ส่งผลให้อาการเหงือกบวมลดลง

.

6. เหงือกบวมขั้นรุนแรง

อาจต้องใช้วิธีปลูกถ่ายเหงือกโดยใช้เนื้อเยื่อส่วนอื่นในช่องปากมาซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย หรืออาจปลูกถ่ายกระดูกร่วมด้วย เพื่อให้เหงือกกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

.

และที่สำคัญอย่าลืมดูแลช่องปากของลูกน้อยด้วยการพาลูกน้อยไปพบหมอฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือพบทันทีที่พบปัญหา เพื่อตรวจเช็กปัญหาฟันที่ไม่มองเห็นได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงในอนาคต
.

บทความที่น่าสนใจ

เหงือกบวม: ภัยร้ายที่ทำลายสุขภาพฟันของลูกน้อย

ลูกเหงือกบวมมีตุ่มหนองต้องทำยังไง รักษาเองได้มั้ยนะ

ตัดปัญหาเหงือกร่นง่ายๆ ด้วย 4 วิธีการรักษาจากทันตแพทย์


ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม

 

คลินิกทันตกรรมเด็ก

 

คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน

 

สาขาทั้งหมดของ Homey Dental Clinic 




สาขากาญจนาภิเษก
ซอย 7/2 แขวง ศาลาธรรมสพน์
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
สาขาประดิษฐ์มนูญธรรม
991 ซอย ลาดพร้าว 87 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สาขา I’m Park จุฬา (เฉพาะเด็ก)
โครงการ I’mpark จุฬาฯ  355 ถนน เจริญเมือง แขวง วังใหม่ กรุงเทพมหานคร 10330



ทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะด้านนี้

ติดต่อเรา