ปวดฟันคุดกี่วันหาย บรรเทาอาการปวดได้ยังไงบ้าง
Posted: 17 May , 2022ถึงฟันคุดจะโผล่ขึ้นมาแล้วไม่แสดงอาการอะไรมากสำหรับบางคน แต่ก็มีอีกหลายคนที่ต้องทนเจ็บปวดกับฟันคุดจนถึงขั้นต้องถอนออกอยู่ดี ว่าแต่ปวดฟันคุดกี่วันหาย บรรเทาอาการได้เองมั้ย มีวิธีไหนที่เห็นผลบ้าง วันนี้เราจะมาแนะนำกันครับ
อาการปวดฟันคุดไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน เพราะฟันคุดของบางคนอาจไม่ส่งผลเสียต่อช่องปาก เนื่องจากเป็นฟันคุดที่ขึ้นมาพ้นเหงือก มีความแข็งแรง ไม่ล้มหรือเอนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง สามารถพบฟันและทำความสะอาดได้เหมือนฟันปกติ แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ที่มีฟันคุดขึ้นไม่ตรงตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นผิดตำแหน่ง จนเอียงไปชนฟันซี่ข้างๆ หรือโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกเพียงบางส่วน ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดจากแรงกดทับ อีกทั้งเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารได้ง่าย หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ นอกจากจะรู้สึกปวดแล้วยังทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบและฟันผุตามมาได้ด้วย
.
วิธีบรรเทาอาการปวดฟันคุด
หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการบรรเทาอาการปวดฟันที่เกิดจากฟันคุดให้ลูกน้อยก่อนไปให้หมอฟันถอนออกให้ในกรณีที่คุณหมอลงความเห็นแล้วว่าต้องถอนออกจริงๆ ทางเรามีวิธีบรรเทาอาการเบื้องต้นมาฝาก แต่ต้องบอกก่อนว่าวิธีเหล่านี้ใช้ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะทางแก้ที่ดีที่สุดก็คือการผ่าฟันคุดซึ่งจะช่วยให้เราดูแลสุขภาพช่องปากได้ง่ายขึ้น โดยมีวิธีการดังนี้
.
1. ทำความสะอาดช่องปาก
หากพบเศษอาหารติดบริเวณฟันคุดให้ใช้แปรงสีฟันและไหมขัดฟันแปรงบริเวณฟันคุดจนกว่าเศษอาหารจะหลุดออกมา โดยอาจกลั้วปากด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้เศษอาหารหลุดง่ายขึ้น
.
2. บ้วนปากด้วยเกลือ
เตรียมน้ำอุ่น 1 แก้ว ผสมเกลือป่น 1 ช้อนชา คนให้เข้ากัน จากนั้นกลั้วน้ำที่ผสมประมาณ 30-60 วินาที แล้วบ้วนทิ้ง ทำซ้ำๆ จนกว่าจะรู้สึกปวดน้อยลง
.
3. ทานยาแก้ปวด
โดยยาที่แนะนำจะเป็นยาในกลุ่มบรรเทาอาการปวดแบ่งเป็นไอบูโพรเฟน และพาราเซตามอล โดยไอบูโพรเฟนแบบน้ำจะทานน้ำหนักตัวของเด็ก (ตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 12 ปี) บวกกับความแรงของยา 100 มก./น้ำ 5 มล. ส่วนพาราเซตามอลจะมีหลักการแบ่งตามระดับความเข้มข้นของยาที่เหมาะสมตามช่วงวัยและน้ำหนักตัว ซึ่งต้องทานทุกๆ 4-6 ชม. โดยแบ่งปริมาณในการทาน ดังนี้
.
ผู้ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 40 กก. หรือผู้ที่ต้องทานยาพาราเซตามอลแบบน้ำ
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวไม่ถึง 10 กก. ควรรับประทานปริมาณ 60-80 มก./1 ช้อนชา
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 12-15 กก. ควรรับประทานปริมาณ 120-125 มก./1 ช้อนชา
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 16-24 กก. ควรรับประทานปริมาณ 160 มก./1 ช้อนชา
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 25-40 กก. ควรรับประทานปริมาณ 250 มก./1 ช้อนชา
.
ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 22-67 กก. หรือผู้ที่ต้องทานยาพาราเซตามอล ขนาด 325 มก.
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 22-33 กก. ควรรับประทานปริมาณครั้งละ 1 เม็ด
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 34-44 กก. ควรรับประทานปริมาณครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 45-67 กก. ควรรับประทานปริมาณครั้งละ 2 เม็ด
.
ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 33 กก. ขึ้นไป หรือผู้ที่ต้องทานยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มก.
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 33-50 กก. ควรรับประทานปริมาณครั้งละ 1 เม็ด
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 51-67 กก. ควรรับประทานปริมาณครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 67 กก. ขึ้นไป ควรรับประทานปริมาณครั้งละ 2 เม็ด
.
ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 44 กก. ขึ้นไป หรือผู้ที่ต้องทานยาพาราเซตามอล ขนาด 650 มก.
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 44 กก. หรืออายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่แนะนำให้ทานยาชนิดนี้เพราะอาจมีผลต่อตับโดยตรง
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 44 กก. หรืออายุ 18 ปีขึ้นไป ควรรับประทานปริมาณครั้งละ 2 เม็ด ห่างกันอย่างน้อย 8 ชม.
.
4. ประคบบริเวณที่ปวด
นำน้ำแข็งก้อนใหญ่ละลายยากห่อด้วยผ้าบาง แล้วนำมาประคบกรามข้างที่ปวดเป็นเวลา 10-15 นาที จากนั้นหยุดพักและประคบต่อจนกว่าจะหายปวด หรืออาจใช้ถุงชาสมุนไพรที่แช่น้ำร้อนแล้วบีบน้ำออก จากนั้นประคบบริเวณที่ปวดหรือกัดถุงเบาๆ เอาไว้ในปากจนกว่าจะหายปวด
.
5. ใช้ก้านพลู
เคี้ยวก้านพลูและอมเอาไว้ในบริเวณที่ปวด หรือนำดอกมาตำให้แหลกจากนั้นผสมเหล้าขาวเล็กน้อย จุ่มด้วยสำลีและจิ้มบริเวณที่ปวดจนกว่าจะดีขึ้น
.
ปวดฟันคุดกี่วันหาย
หากบรรเทาอาการและพาลูกน้อยไปผ่าฟันคุดเรียบร้อยแล้ว ร่างกายจะยังรู้สึกปวดบริเวณที่ผ่าอยู่ประมาณ 2-3 ชม. หลังหมดฤทธิ์ยาชา ส่วนอาการปวดจะค่อยๆ หายดีภายใน 2-3 วัน หลังจากผ่าออก แต่หากต้องรอกระดูกอาจรอนานประมาณ 1-2 เดือน จนกว่าแผลจะปิดสนิทและรวมกันเป็นเนื้อเยื่อเดียวกันในช่องปาก
.
นอกจากวิธีที่แนะนำมาทั้งหมดแล้ว อย่าลืมดูแลช่องปากของลูกน้อยด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันควบคู่กันไปด้วย หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาฟันที่อาจไปกระตุ้นให้ปวดฟันมากขึ้น เช่น นอนกัดฟัน ใช้ฟันงัดของแข็ง กินอาหารที่เหนียวหรือแข็งเกินไป และที่สำคัญควรพาลูกน้อยไปพบหมอฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจเช็กปัญหาฟันที่ไม่มองเห็นได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงในอนาคต
.
บทความที่น่าสนใจ
ฟันคุดคืออะไร? ทำไมต้องผ่าออกเท่านั้น
มีฟันคุด แต่ไม่มีอาการอะไร จำเป็นต้องผ่าออกมั้ย?
ภาวะกระดูกเบ้าฟันอักเสบหลังเด็กผ่าฟันคุดคืออะไร?
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน