ลูกฟันโยก รอให้หลุดเองดีมั้ย หรือให้หมอฟันเด็กจัดการให้ดีนะ
Posted: 19 July , 2022เมื่อเห็นว่าลูกฟันโยกและอยากให้ฟันหลุดออกไปสักที แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่รู้ว่าจะต้องจัดการปัญหาฟันแบบนี้อย่างไร วันนี้เรามีวิธีแนะนำมาฝากครับ
ฟันโยกเกิดจากอะไร ทำไมโยกแล้วไม่ยอมหลุดสักที
ฟันที่ขึ้นตามช่วงวัยของเด็กนั้นเป็นฟันน้ำนมที่มีความแข็งแรงของสารเคลือบฟันน้อยกว่าฟันแท้ที่เป็นฟันชุดที่สองที่ขึ้นต่อจากฟันน้ำนม ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อฟันโยกง่ายโดยส่วนใหญ่จะโยกจาก 4 สาเหตุ ได้แก่
สาเหตุที่ทำให้ลูกฟันโยก
1. ฟันแท้
ปัญหาฟันโยกในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากฟันน้ำนมกำลังจะหลุดตามช่วงวัย ทำให้ฟันค่อย ๆ โยกเพื่อเปิดทางให้ฟันแท้งอกขึ้นมา โดยฟันแท้มีทั้งหมด 32 ซี่ แบ่งเป็นฟันบนและล่างอย่างละ 16 ซี่ โดยฟันแต่ละซี่มีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน เช่น ฟันหน้าทำหน้าที่ตัดอาหาร, ฟันเขี้ยวใช้ฉีกอาหารออกจากกัน ฯลฯ ฟันแท้ซี่แรกจะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6-7 ปี ขึ้นไป หากลูกมีแนวโน้มว่าฟันโยกแสดงว่าฟันแท้กำลังจะขึ้นแน่นอน
2. พฤติกรรมเสี่ยงจากความเคยชิน
เป็นพฤติกรรมที่เด็กทำเองทั้งจากความคุ้นชินและทำโดยไม่รู้ตัว เช่น การกัดฟันทุกช่วงเวลาแม้กระทั่งตอนนอน, การใช้ลิ้นดุนฟันเล่น, การใช้ฟันเปิดฝาขวด, ทานอาหารที่แข็งหรือเหนียวเกินไป รวมถึงความเครียดสะสมก็ส่งผลให้กัดฟันได้ด้วยเช่นกัน ทำให้ฟันใช้งานหนักโดยไม่จำเป็นและฟันสึกหรอเร็วกว่าปกติ
3. เครื่องมือจัดฟัน
การใส่เครื่องมือจัดฟันเป็นเวลานานเนื่องจากการไม่พบหมอฟันเด็กตามนัด ทำให้ใช้ระยะเวลารักษาฟันนานขึ้น ส่งผลให้ใส่เครื่องมือจัดฟันนานเกินความจำเป็น สิ่งที่ตามมาคือปัญหาช่องปากเนื่องจากการทำความสะอาดที่ไม่ทั่วถึง กลายเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่สร้างคราบพลัคขึ้นมาทำร้ายช่องปาก อีกทั้งเครื่องมือจัดฟันทำให้ฟันเคลื่อนที่ตลอดเวลา ส่งผลกระทบให้กระดูกรากฟันเสื่อมสภาพและรากฟันอ่อนแอ
4. ปัญหาสุขภาพฟัน
ปัญหาหนึ่งที่ทำให้ฟันโยกคือปัญหาโรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์ เกิดจากการที่แบคทีเรียทำปฏิกิริยากับเศษอาหารตามซอกฟัน เกิดเป็นคราบพลัคที่ปล่อยสารพิษออกมาทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเหงือก หากปล่อยไว้นานอาจกลายเป็นโรคเหงือกอักเสบตามมา และทำลายกระดูกเบ้าฟันและเอ็นยึดปริทันต์จนฟันโยกนั่นเอง
5. อุบัติเหตุ
หากเกิดอุบัติเหตุกับฟันโดยตรงหรือเกิดบริเวณใบหน้าก็ตาม เช่น หกล้ม, โดนกระแทกที่ฟันขณะเล่นกีฬา ฯลฯ อาจทำให้เนื้อเยื่อและกระดูกรอบฟันยึดขยายตามแรงดันที่ส่งมายังฟันและทำให้ฟันโยกนั่นเอง
สังเกตลูกฟันโยกได้ด้วยอาการเหล่านี้
- เหงือกร่น
- เหงือกบวม มีสีแดงสด
- เลือดออกตามไรฟัน
- เจ็บฟันเวลากัดฟัน
รับมือกับลูกฟันโยกอย่างไรดี
1. ฟันโยกโดยธรรมชาติ
หากฟันโยกตามช่วงวัยอาจปล่อยให้ฟันหลุดเองตามธรรมชาติ ไม่ควรดึงหรือกระตุกฟันให้หลุดเร็วซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บและติดเชื้อ หากรู้สึกรำคาญและอยากให้หลุดโดยธรรมชาติแนะนำให้ใช้ลิ้นดุนฟันอย่างระมัดระวัง, ทานผลไม้แข็ง ๆ เช่น แอปเปิล, ฝรั่ง, แคร์รอต ฯลฯ แต่หากฟันโยกไม่ยอมหลุดแนะนำให้ปรึกษาคุณหมอว่าควรถอนหรือปล่อยไว้ให้หลุดเอง
2. ฟันโยกจากอุบัติเหตุ
หากเกิดอุบัติเหตุจนฟันโยก ไม่แนะนำให้ดึงออกเอง ควรรีบพาลูกไปพบหมอฟันเด็กเพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยและหาทางรักษา หากเป็นฟันที่ยังอยู่ในระดับที่รักษาได้ คุณหมอจะรักษาด้วยการรักษารากฟันและทำความสะอาดคลองรากฟันใหม่ หรืออาจผ่าตัดปลายรากฟันในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาฟันไว้ใช้งานต่อไป แต่หากฟันโยกขั้นรุนแรงอาจก่อให้เกิดปัญหาฟันตามมา คุณหมอจะถอนฟันซี่นั้นออก
3. ฟันโยกจากโรคปริทันต์
คุณหมอจะจ่ายยาพาราเซตามอล หรือไอบิวพรอเฟน เพื่อลดอาการปวดและรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย จากนั้นจึงขูดหินปูนเพื่อขจัดคราบพลัคซึ่งเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียออกจากฟัน นอกจากนี้ยังควรเกลารากฟันเพื่อทำความสะอาดลึกลงไปยังรากฟันที่อยู่ในเหงือก โดยใช้ยาชาเพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกปวดขณะเกลา
หากฟันโยกยังไม่หลุดออกมา คุณหมอจะใส่เฝือกฟันไว้ยึดฟันซี่ข้าง ๆ เพื่อช่วยฟันที่โยกให้ไม่หลุดออกมา แต่หากมีอาการฟันโยกรุนแรง อาจต้องถอนฟันซี่นั้นออกแล้วรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียม โดยคุณหมอจะถอนซี่ที่โยกออกและใส่สะพานฟันแทน
ด้วยการรักษารากฟันเพื่อเก็บฟันไว้ใช้งาน ไปจนถึงฟันโยกระดับรุนแรง หากปล่อยไว้นานวันอาจเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ ทั้งนี้อาจจะถอนหรือไม่ถอนก็ได้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของหมอฟันเด็ก ซึ่งการถอนออกจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อลุกลามไปยังฟันรอบข้างโดยใช้การทำรากฟันเทียม
กันไว้ดีกว่าแก้ วิธีดูแลไม่ให้ลูกฟันแท้โยก
หากลูกต้องทำกิจกรรมเสี่ยงต่อการปะทะ แนะนำให้ใส่ฟันยางครอบฟันขณะทำกิจกรรมเสมอ นอกจากนี้ควรทำความสะอาดช่องปากเป็นประจำอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน หรือทุกครั้งหลังมื้ออาหารครึ่งชั่วโมง ที่สำคัญอย่าลืมพบหมอฟันเด็กเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจดูปัญหาช่องปากที่มองไม่เห็นและอาจเกิดขึ้นในอนาคต
บทความที่น่าสนใจ
- สะพานฟัน: ทางเลือกสำคัญสำหรับเด็กที่สูญเสียฟันถาวร
- ดูแลฟันน้ำนมให้แข็งแรงได้ด้วยการรักษารากฟันน้ำนม
- ความสำคัญในการเกลารากฟันที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน