เด็กนอนกัดฟัน ปัญหาฟันอันดับต้นๆ ที่ไม่ควรปล่อยไว้เรื้อรัง

Posted: 19 July , 2022

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงเคยชินกับการนอนกัดฟันของลูกน้อย และคิดว่าปล่อยไว้ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็หายไปเอง แต่เมื่อถึงวัยอันควรแล้วลูกยังนอนกัดฟันอยู่เหมือนเดิม อาจมีผลเสียต่อตัวเด็กเองในอนาคตด้วย วันนี้เรามีความรู้ดีๆ เกี่ยวกับภาวะเด็กนอนกัดฟันและวิธีแก้มาฝากกันครับ

เด็กนอนกัดฟัน

ทำไมเด็กส่วนใหญ่ถึงนอนกัดฟัน

แม้ว่าเป็นภาวะที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่อาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการนอนกัดฟันเมื่อมีฟันงอกขึ้นมา โดยเริ่มมีอาการเมื่อเด็กมีอายุ 1 ปีขึ้นไป,  สภาพปัญหาฟันของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เด็กบางคนอาจมีฟันเรียงกันผิดปกติ,  ฟันซ้อนเก, เป็นโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ, โรคลมชัก, โรคสมาธิสั้น, ยาบางชนิดที่เด็กทาน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความเครียดสะสมของเด็กก่อนเข้านอนเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย

 

สังเกตอาการลูกนอนกัดฟันได้ด้วยตัวคุณพ่อคุณแม่เอง

  • ฟันลูกดูสึก มีรอยบิ่น
  • เสียวฟันเมื่อลูกดื่มน้ำร้อนและน้ำเย็น
  • ได้ยินเสียงดังติดขัดขณะที่ลูกอ้าและหุบปาก
  • ได้ยินเสียงลูกหายใจทางปากชัดเจน
  • ลูกปวดหัวและรู้สึกเสียวฟันง่ายกว่าปกติ
  • ลูกปวดบริเวณหน้าหูหรือกกหู
  • หงุดหงิดง่าย นอนหลับไม่เต็มอิ่ม

 

ข้อเสียของการปล่อยให้เด็กนอนกัดฟัน

  • เด็กจะรู้สึกเสียวฟันง่าย ไม่มีความสุขในการทานอาหาร
  • เด็กจะรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณข้อต่อขากรรไกร อาจลามไปถึงปวดหูด้วย
  • อาจเกิดแผลในช่องปากง่ายขึ้น เนื่องจากเด็กจะตอบสนองความเจ็บปวดด้วยการกัดปากตัวเอง
  • เด็กหายใจลำบาก ทำให้ต้องหายใจผ่านทางปากแทน
  • หากฟันสึกไปจนถึงโพรงประสาทฟันอาจเกิดการติดเชื้อและมีหนองที่ปลายรากฟัน สังเกตได้จากฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองชัดเจน ฟันบวมมีหนอง หรือคางบวม เสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด

 

มีวิธีแก้ปัญหาเด็กนอนกัดฟันบ้างมั้ย

1. ใส่เฝือกสบฟัน

เฝือกสบฟันเป็นเครื่องมือสำหรับลดอาการปวดของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยวที่เกิดจากปัญหากัดฟันทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัวของเด็กเอง อีกทั้งช่วยป้องกันฟันสึกขณะกัดฟันด้วย เฝือกสบฟันมีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่

 

1.1 เฝือกสบฟันแบบอ่อน

  • ใช้ในกรณีฉุกเฉินหากเด็กรู้สึกปวดมาก เหมาะสำหรับใช้ชั่วคราวเพื่อรอทำเฝือกสบฟันชนิดแข็ง
  • ใช้ป้องกันฟันสึกกร่อนจากการเล่นกีฬา เช่น ว่ายน้ำ, บาสเกตบอล, ฟุตบอล
  • เหมาะกับเด็กอายุน้อยเนื่องจากไม่ขัดขวางการเจริญเติบโตของขากรรไกรเด็ก
  • ข้อเสียของเฝือกสบฟันชนิดนี้คือวัสดุนิ่มเปราะหักง่าย, ไม่ทนต่อการใช้งาน จึงต้องเปลี่ยนบ่อย

 

1.2 เฝือกสบฟันแบบแข็ง

  • เนื่องจากผลิตจากพลาสติกแข็ง จึงมีอายุใช้งานนานกว่าเฝือกสบฟันชนิดอ่อน
  • เหมาะกับเด็กที่นอนกัดฟันหรือกัดเป็นประจำจากความคุ้นชิน รวมถึงเด็กที่มีข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ
  • ช่วยให้สบฟันดีขึ้น กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
  • แต่ไม่เหมาะกับเด็กเล็ก เพราะใช้เวลาในการทำเฝือกนานและอาจขวางการเจริญเติบโตของขากรรไกร

 

2. หากิจกรรมทำร่วมกับลูกเพื่อไม่ให้ลูกเครียด

เนื่องจากความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กนอนกัดฟัน ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตและพูดคุยกับลูกเป็นประจำเพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายจิตใจมากขึ้น ทั้งนี้อาจหากิจกรรมทำร่วมกันกับลูกก่อนนอนเพื่อเป็นการผ่อนคลายทั้งตัวคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง, อ่านนิทานก่อนนอน หรือแม้แต่การนอนกอดลูกหรืออุ้มลูกกล่อมนอนเบาๆ จะทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขก่อนเข้านอน ส่งผลให้ไม่ต้องนอนกัดฟันอีก ทั้งนี้ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่หนักเกินไปเพราะอาจทำให้ลูกเหนื่อยจนนอนไม่ได้อีกเช่นกัน

 

3. เปลี่ยนยาที่ทาน

หากสังเกตและพบว่าลูกนอนกัดฟันจากการทานยารักษาโรคบางชนิด อาจต้องขอคำแนะนำของคุณหมอเพื่อขอเปลี่ยนยาที่ไม่มีผลข้างเคียงต่อการนอนของลูกน้อย หรืออาจหาวิธีการรักษาแบบอื่นต่อไป

 

4. พาลูกเข้านอนตรงเวลา

การกำหนดเวลานอนให้ลูกได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ และการสร้างบรรยากาศในห้องนอนลูกให้น่านอน จะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและนอนหลับเต็มอิ่ม ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและด้านอารมณ์ให้เติบโตเต็มที่ เป็นเด็กอารมณ์ดี ไม่เครียดง่ายอีกด้วย

 

5. ฝึกบริหารกราม

เนื่องจากฟันบนและล่างจะสัมผัสแตะกันขณะเคี้ยวอาหาร หรือเปล่งคำบางคำเท่านั้น แต่หากฟันแตะกันตลอดเวลาหรือเกิดการเกร็งลิ้น อาจทำให้รู้สึกเมื่อยบริเวณขากรรไกร ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกฝึกผ่อนคลายริมฝีปากโดยพูดคำว่า M และ N เพื่อให้ริมฝีปากฟันและลิ้นอยู่ในท่าที่ผ่อนคลายโดยอัตโนมัติ

 

6. งดทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

อย่าปล่อยให้ลูกทานอาหารมื้อหนักก่อนนอน 3 ชั่วโมง หากลูกหิวแนะนำให้ดื่มนมอุ่นๆ แทน นอกจากจะช่วยคลายหิวแล้วยังช่วยให้นอนหลับสบายมากขึ้นด้วย

 

7. ศัลยกรรมช่องปาก

หากคุณหมอวินิจฉัยแล้วว่าเกิดจากฟันเสียหายอย่างหนัก หรือฟันสึกอาจเกิดอาการเสียวฟัน ทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก คุณหมอฟันอาจให้รักษาด้วยการกรอฟันหรือครอบฟัน เพื่อซ่อมแซมฟันที่เสียหายจากการกัดฟัน

 

บทความที่น่าสนใจ

 


ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม

 

คลินิกทันตกรรมเด็ก

 

คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน

 

สาขาทั้งหมดของ Homey Dental Clinic 




สาขากาญจนาภิเษก
ซอย 7/2 แขวง ศาลาธรรมสพน์
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
สาขาประดิษฐ์มนูญธรรม
991 ซอย ลาดพร้าว 87 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สาขา I’m Park จุฬา (เฉพาะเด็ก)
โครงการ I’mpark จุฬาฯ  355 ถนน เจริญเมือง แขวง วังใหม่ กรุงเทพมหานคร 10330



ทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะด้านนี้

ติดต่อเรา