อย่าปล่อยให้เด็กฟันหลอ จนสร้างแผลใจให้ลูกน้อย

Posted: 19 July , 2022

ฟันหลอเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งสร้างความกังวลให้แก่ตัวเด็กเองและคุณพ่อคุณแม่ด้วยว่าควรรักษาอย่างไรดี และมีวิธีดูแลไม่ให้ฟันหลอได้มั้ย วันนี้เรามีคำแนะนำมาฝากครับ

เด็กฟันหลอ

เนื่องจากฟันน้ำนมของเด็กแข็งแรงน้อยกว่าฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นมาถาวร จึงมีโอกาสหลุดออกง่ายแม้ได้รับแรงกระแทกไม่มากก็ตาม ฟันหลอส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณฟันหน้าด้านบนซึ่งเป็นฟันที่สัมผัสกับนมมากกว่าส่วนอื่น จึงเกิดคราบนมเกาะติดฟันง่ายและน้ำตาลในนมถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียในช่องปากและทำให้เกิดฟันผุจนฟันสึกหรอง่าย นอกจากนี้ฟันหน้าซี่บนยังเป็นส่วนที่สัมผัสง่ายกว่าฟันซี่อื่นจึงมีความเสี่ยงที่จะหลุดมากกว่าฟันซี่อื่นนั่นเอง ซึ่งฟันหลอเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

 

สาเหตุที่ทำให้เด็กฟันหลอ

1. ฟันหลุดเองตามช่วงวัย

ฟันน้ำนมเป็นฟันที่ขึ้นมาชุดแรกก่อนที่ฟันแท้ซึ่งเป็นฟันชุดที่สองจะขึ้นมาแทนที่ ฟันแท้มีทั้งหมด 32 ซี่ แบ่งเป็นฟันบน 16 ซี่ และฟันล่าง 16 ซี่ มีลักษณะแตกต่างกันบ้างตามรูปแบบการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ฟันหน้าทำหน้าที่ตัดอาหาร, ฟันเขี้ยวใช้ฉีกอาหารออกจากกัน ฯลฯ ฟันแท้ซี่แรกส่วนใหญ่ทั้งซี่บน-ล่างจะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6-7 ปี ขึ้นไป หากลูกมีแนวโน้มว่าฟันหลุดในช่วงก่อนหน้านี้ให้รู้ไว้เลยว่าเตรียมฟันหลอรอฟันแท้ขึ้นแน่นอน

 

2. ได้รับอุบัติเหตุบริเวณช่องปากโดยตรง

อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าฟันน้ำนมไม่แข็งแรงพอที่จะรับแรงกระแทกได้ หากเด็กได้รับอุบัติเหตุบริเวณช่องปากจนฟันหลุดหรือโยก หมอฟันเด็กจะแนะนำให้ใช้กาวทันตกรรมติดฟันบางส่วนที่หลุดออกมาให้กลับเข้าไปใช้งานได้ดังเดิม แต่หากกรณีที่คุณหมอวินิจฉัยแล้วว่าไม่ควรเก็บฟันซี่ที่หักไว้ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อตัวเด็กเองหากเด็กกลืนลงคอ คุณหมอจะทำการถอนฟันซี่นั้นออกเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว และรักษาฟันที่ซี่ด้วยวิธีอื่นต่อไป

 

3. เด็กมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ฟันหลอ

หากลูกใช้ลิ้นดุนฟัน หรือนอนกัดฟันทั้งแบบรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม จนเคลือบฟันไม่แข็งแรง อาจนำไปสู่การสูญเสียฟันในอนาคตจนต้องถอนในที่สุด

 

4. การดูแลสุขภาพช่องปากไม่ถูกวิธี

ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ฟันน้ำนมสึกหรอง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงวัยเด็กซึ่งเป็นช่วงที่ละเลยการทำความสะอาดช่องปาก เพราะเด็กหลายคนอยากทำกิจกรรมสนุกๆ มากกว่าการยืนแปรงฟันเฉยๆ ส่วนใหญ่ที่พบปัญหาคือเด็กแปรงฟันน้อยกว่าวันละ 2 ครั้ง และเด็กอีกหลายคนไม่แปรงฟันใน 1 วันเลยก็มีเหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการแปรงฟันผิดวิธี เช่น แปรงฟันแรงเกินไป, แปรงฟันเร็วเกินไป, แปรงฟันนานเกินไป, แปรงแค่ฟันหน้า ไม่ยอมแปรงข้างใน แปรงฟันแต่ไม่ยอมแปรงลิ้น หรือแม้แต่ใช้น้ำยาบ้วนปากแทนแปรงสีฟัน+ยาสีฟัน จนทำให้แบคทีเรียในช่องปากสะสมและทำปฏิกิริยากับเศษอาหารตามซอกฟันจนทำให้ฟันสึกกร่อนลง

 

5. โรคปริทันต์

หรือที่ใครหลายรู้จักกันในชื่อของโรคเหงือกอักเสบ เกิดจากการดูแลสุขภาพช่องปากไม่เพียงพอ ทำให้แบคทีเรียสร้างคราบพลัคซึ่งระคายเคืองต่อเหงือก ถ้าปล่อยไว้นานวันเข้าอาจทำให้เด็กเป็นโรคปริทันต์ลุกลามไปยังโพรงประสาทฟัน อาจเกิดการติดเชื้อร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ด้วย

 

ผลเสียที่ปล่อยให้เด็กฟันหลอ

  • เมื่อเด็กยิ้มออกมาแล้วเห็นฟันหลอ อาจถูกล้อเลียนจนสูญเสียความมั่นใจและวิตกกังวลที่จะยิ้มออกมา
  • เนื่องจากฟันของคนเราจะเคลื่อนที่ตลอดเวลา หากมีช่องว่างระหว่างฟันซี่ข้างๆ จากฟันหลอ อาจทำให้ฟันรอบข้างเอียงซ้อนกันเป็นฟันเก ฟันซ้อนตามมา
  • เสียค่าใช้จ่ายในการทำฟันปลอมเพื่ออุดช่องว่างที่หายไปจากฟันหลอ ทั้งนี้หากเป็นฟันน้ำนมที่หลุดออกไปอาจต้องขอคำแนะนำจากหมอฟันเด็กว่าควรรักษาด้วยวิธีไหนถึงจะเหมาะกับเด็กที่สุด เพราะต้องคำนึงถึงฟันแท้ที่รองอกขึ้นมาด้วย
  • ประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารน้อยลงเนื่องจากมีฟันไม่มากพอในการบดอาหาร

 

รักษาฟันหลอให้ลูกได้ยังไงบ้าง

1. อุดฟัน

คุณหมอจะรักษาด้วยการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันมาอุดบริเวณช่องว่างของฟันซี่ที่หลอ แล้วฉายแสงเพื่อให้ฟันมีสีตามธรรมชาติมากที่สุด

 

2. ครอบฟัน

หากรักษาด้วยการครอบฟัน คุณหมอจะใช้เซรามิกหรือโลหะสำหรับครอบฟันเพื่อให้ฟันกลับมาใช้งานตามปกติ

 

3. ทำฟันปลอม

คุณหมอจะออกแบบฟันปลอมตามลักษณะช่องปากของเด็ก แล้วใช้ถาดพิมพ์ปากให้เด็กกัดเพื่อทำพิมพ์ปาก จากนั้นร่วมกันตัดสินใจเลือกสีฟันพร้อมกันกับคุณพ่อคุณแม่ผ่านเครื่องจำลองขากรรไกร ให้เด็กลองถอดแผ่นฐานฟันปลอมชั่วคราวโดยใช้ฟันซี่ปลอมของผู้ใหญ่ในการกรอให้เหมาะกับช่องปากเด็กให้มากที่สุด และนำฟันซี่นั้นส่งเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อทำฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้ใส่ให้เด็ก

 

ป้องกันฟันหลอได้ด้วยตัวเอง

  • ทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือทุกครั้งหลังมื้ออาหาร 30 นาที
  • ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากควบคู่ด้วย เพื่อให้ประสิทธิภาพของฟลูออไรด์คงอยู่ในช่องปากนานขึ้น
  • งดทานอาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆ หลังการแปรงฟัน ยกเว้นน้ำเปล่า
  • หากเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมเสี่ยงต่อการปะทะ แนะนำให้ใส่เฝือกสบฟันป้องกันทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงและรักษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อฟันหลุดของลูกน้อย เช่น ให้ลูกใส่เฝือกสบฟันขณะนอนหลับหากลูกมีภาวะนอนกัดฟัน
  • พบหมอฟันเด็กเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือมาพบทันทีเมื่อมีปัญหาในช่องปาก

 

บทความที่น่าสนใจ

 


ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม

 

คลินิกทันตกรรมเด็ก

 

คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน

 

สาขาทั้งหมดของ Homey Dental Clinic 




สาขากาญจนาภิเษก
ซอย 7/2 แขวง ศาลาธรรมสพน์
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
สาขาประดิษฐ์มนูญธรรม
991 ซอย ลาดพร้าว 87 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
สาขา I’m Park จุฬา (เฉพาะเด็ก)
โครงการ I’mpark จุฬาฯ  355 ถนน เจริญเมือง แขวง วังใหม่ กรุงเทพมหานคร 10330



ทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะด้านนี้

ติดต่อเรา