รู้หรือไม่ว่าเด็กปวดหัว อาจเกิดจากสุขภาพฟันที่ไม่แข็งแรง
Posted: 17 May , 2022นอกจากอาการปวดฟันจะสร้างความรำคาญให้ลูกน้อยเวลารับประทานอาหารแล้ว ยังส่งผลให้เด็กปวดหัวจนทำอะไรไม่ได้เลยก็มีเหมือนกัน ว่าแต่ปวดหัวจากปวดฟันเกิดจากอะไร มีระดับความรุนแรงแบบไหนบ้าง แล้วมีวิธีบรรเทาอาการและรักษาอย่างไรบ้าง เรามาดูกันเลยครับ
อาการปวดฟันเกิดจากอะไรได้บ้าง
สาเหตุที่พบส่วนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ความผิดปกติจากการเรียงตัวของฟัน และพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาฟัน ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ฟันเกที่ได้รับจากพ่อแม่ ปัญหาการสูญเสียฟันก่อนวัยอันควรเนื่องจากประสบอุบัติเหตุจนทำให้ฟันที่งอกขึ้นมาใหม่เอียงไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งและสร้างแรงกดให้ฟันซี่ข้างๆ การใช้ฟันงัดของแข็ง กัดอาหารที่เหนียวเกินไป หรือใช้ลิ้นดุนฟันเป็นประจำ การทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีหรือละเลยการแปรงฟัน รวมถึงการใส่อุปกรณ์จัดฟันก็ตาม สาเหตุเหล่านี้ส่งผลเกิดปัญหาฟันผุ, โรคเหงือกอักเสบ, ติดเชื้อที่หู รวมถึงเนื้อเยื่อฟันอักเสบ ซึ่งเป็นต้นตอของอาการปวดฟันนั่นเอง
.
ทำไมอาการปวดฟันถึงทำให้เด็กปวดหัวได้ด้วย
เนื่องจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ซึ่งอยู่บนในหน้าและข้างใบหูนั้นทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวอาหารจึงรับความรู้สึกใบบนหน้า, ช่องปาก, กระพุ้งปาก, เหงือกและฟัน ซึ่งเส้นประสาทนี้ทำให้เรารู้สึกถึงอาการปวดฟันและปวดหัวตามมา
.
อาการเหล่านี้บ่งบอกได้ว่าเด็กปวดหัวจากปวดฟัน
- ปวดหัวทันทีอย่างรุนแรง อาจกินเวลาไม่กี่วินาทีหรือนานเป็นนาทีก็ได้
- ปวดหัวข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น หรือปวดทั้งสองข้างพร้อมกัน
- หากถูกกระตุ้นด้วยการสัมผัสกับใบหน้า เช่น เคี้ยวอาหาร แปรงฟัน ล้างหน้า จะรู้สึกปวดหัวทันที
- ปวดซ้ำๆ เป็นประจำ
.
รักษาอาการปวดหัวเบื้องต้นจากการปวดฟันได้อย่างไรบ้าง
1. ทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี
หนึ่งในสาเหตุของการปวดฟันนั้นอาจเกิดจากเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในซอกฟัน ดังนั้นควรให้เด็กทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 30 นาที ด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันขัดเอาเศษอาหารออก แล้วกลั้วน้ำยาบ้วนปากเป็นเวลา 30 วินาที เพื่อกำจัดแบคทีเรียที่หลงเหลืออยู่ในช่องปาก ซึ่งการแปรงฟันก็ถือเป็นการนวดเหงือกไปในตัว ช่วยลดอาการปวดฟันได้ดี
.
2. กลั้วปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ
นำน้ำอุ่น 1 แก้ว ผสมเกลือป่น 1 ช้อนชา จากนั้นคนให้เข้ากันและให้เด็กกลั้วน้ำเกลือเป็นเวลา 30-60 วินาที แล้วบ้วนทิ้ง ทำซ้ำๆ จนกว่าอาการปวดจะน้อยลง
.
3. ทานยาบรรเทาอาการปวด
การทานยาพาราเซตามอล และไอบูโพรเพนเป็นการบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ควรขอคำแนะนำจากเภสัชกรเกี่ยวกับปริมาณที่ควรใช้ในเด็กทุกครั้ง ทางที่ดีที่สุดควรพาลูกไปพบหมอฟันเพื่อการแก้ปัญหาที่ถูกวิธีที่สุด
.
4. ปรึกษาหมอฟัน
หากพบว่าปัญหาฟันส่งผลต่ออาการปวดหัว จะต้องรักษาฟันเหล่านั้นตามอาการ หากเป็นฟันผุต้องรักษาด้วยการอุดฟันด้วยอมัลกัมหรือเรซินคอมโพสิต หรือรักษารากฟันหากพบฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน เป็นต้น
.
หลังจากการรักษาแล้ว อย่าลืมดูแลช่องปากของลูกน้อยอย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาฟันที่อาจไปกระตุ้นให้ปวดฟัน เช่น นอนกัดฟัน ใช้ฟันงัดของแข็ง กินอาหารเหนียวหรือแข็งเกินไป และที่สำคัญควรพาลูกน้อยไปพบหมอฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจเช็กปัญหาฟันที่ไม่มองเห็นได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงในอนาคต
.
บทความที่น่าสนใจ
- ฟันคุดคืออะไร? ทำไมต้องผ่าออกเท่านั้น
- มีฟันคุด แต่ไม่มีอาการอะไร จำเป็นต้องผ่าออกมั้ย?
- ภาวะกระดูกเบ้าฟันอักเสบหลังเด็กผ่าฟันคุดคืออะไร?
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน