9 คำศัพท์เกี่ยวกับฟันที่ทุกคนควรรู้
Posted: 1 March , 2022คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจไม่เข้าใจเวลาได้ยินคำศัพท์ทันตแพทย์จากคนรอบข้างเองหรือแม้แต่หมอฟันเด็กด้วย วันนี้ Homey Dental Clinic มีคำอธิบายเกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆ ทั้ง 8 คำเพื่อให้ทุกท่านเข้าใจซึ่งช่วยให้เตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองและลูกน้อยมากขึ้น
9 คำศัพท์เกี่ยวกับฟันที่ทุกคนควรรู้
โดยคำศัพท์ที่เราเลือกมาวันนี้จะเป็นคำที่เราได้ยินแทบทุกครั้งเวลาพบหมอฟันเด็ก รับรองว่าได้ยินแล้วต้องร้องอ๋อแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์เกี่ยวกับการรักษา ส่วนประกอบของฟัน หรือแม้แต่อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการทำฟัน ได้แก่
1. ฟลูออไรด์
เป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ฟันซึ่งจะพบได้ตามธรรมชาติ ไม่ว่าะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก ใบชา โดยฟลูออไรด์จะสะสมอยู่ในตัวฟันและทนต่อกรดจากแบคทีเรียในช่องปากมากขึ้น แต่หากได้รับฟลูออไรด์น้อยเกินไปจะทำให้ฟันผุง่ายขึ้นซึ่งจะต้องทำการเคลือบฟลูออไรด์โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ฟลูออไรด์เจล (Fluoride gel) ฟลูออไรด์วานิช (Fluoride varnish) และซิลเวอร์ไดอะมีนฟลูออไรด์ (Silver diamine fluoride)
2. ฟันน้ำนม ฟันแท้
อาจมีหลายคนสงสัยว่าฟันน้ำนมกับฟันแท้แตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ เราขออธิบายตามช่วงอายุที่ขึ้นของฟันน้ำนมและฟันแท้เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้นนั่นเอง
ฟันน้ำนม
เป็นฟันที่งอกออกมาจากเหงือกของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4-7 เดือนขึ้นไป แต่สำหรับเด็กบางคนอาจมีฟันน้ำนมงอกขึ้นมาตั้งแต่อายุ 3 เดือน หรืออาจงอกช้าจนถึงอายุ 1 ปี ฟันน้ำนมจึงเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยลูกน้อยรับประทานอาหารและใช้สื่อสารตั้งแต่ช่วง 1-6 ปี นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นฐานรอให้ฟันแท้ขึ้นมา หากไม่มีฟันน้ำนมก่อนหน้าจะทำให้ฟันแท้ที่งอกขึ้นมาเคลื่อนที่ผิดตำแหน่งจนเกิดฟันเกหรือฟันซ้อน
ฟันแท้
เป็นฟันที่ขึ้นมาถาวรหลังจากฟันน้ำนมหลุดออกจากปาก โดยจะขึ้นตั้งแต่ช่วงอายุ 6 – 18 ปี โดยฟันแท้มีหน้าที่เหมือนฟันน้ำนมทุกประการเพียงแต่มีอายุการใช้งานนานกว่าฟันน้ำนมซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาของเราเองด้วย แต่อาจหลุดหรือผุได้เนื่องจากปัญหาช่องปากอันเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ แปรงฟันไม่สะอาด รับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อฟันผุ การได้รับอุบัติเหตุจนฟันเสียหายหรืออาจสูญเสียฟัน เป็นต้น
3. หินปูน
เป็นคราบที่เกิดจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในช่องปากซึ่งทำปฏิกิริยากับเศษอาหารที่ตกค้างตามซอกฟัน ทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตจนผลิตกรดทำลายผิวเคลือบฟันและกลายเป็นหินปูนเกาะติดผิวฟันแน่น ไม่สามารถกำจัดออกได้โดยการแปรงฟันเพียงอย่างเดียว
4. แปรงซอกฟัน
หลายคนอาจสงสัยกับคำว่า แปรงซอกฟัน ว่าแตกต่างจากแปรงสีฟันอย่างไร แปรงซอกฟันเป็นแปรงที่มีลักษณะการใช้งานทั่วไปเหมือนแปรงสีฟัน เพียงแต่แปรงซอกฟันนั้นถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กคล้ายกับแปรงล้างขวดนม ทั้งนี้เพื่อทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันหรือบริเวณเหล็กจัดฟันซึ่งแปรงสีฟันทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้นั่นเอง
5. เกลารากฟัน
หนึ่งในคำที่หลายคนไม่คุ้นชินนั่นก็คือการเกลารากฟัน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาฟันโดยหมอฟันเด็กจะใช้เครื่องมือปริทันต์ขูดหินปูนลึกลงไปยังบริเวณผิวรากฟันเพื่อกำจัดจุลินทรีย์ในคราบหินปูน เพื่อฟื้นฟูกระดูกรองรับฟันและเหงือกให้กลับมายึดตัวฟันได้แน่นเหมือนเดิม สำหรับใครที่ดูแลสุขภาพช่องปากดีมากและไม่มีปัญหาฟันอื่นๆ อาจจะไม่ได้ยินคำนี้เลยก็ได้ เพราะการรักษาแบบนี้จะใช้ในกรณีที่เป็นโรคปริทันต์ หรือโรคเหงือกอักเสบนั่นเอง
6. โรคปริทันต์
โรคปริทันต์อาจเป็นคำที่ดูทางการเกินไปและไม่คุ้นชินกันนัก แต่คำๆ นี้มีความหมายเดียวกับโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งโรคนี้เกิดจากคราบจุลินทรีย์สะสมอยู่ตามซอกฟันและผลิตสารพิษออกมาย่อยเหงือกจนเหงือกอักเสบ โดยมีต้นเหตุมาจากการทำความสะอาดฟันไม่ทั่วถึงจนมีเศษอาหารตกค้างตามซอกฟันนั่นเอง
7. เหล็กจัดฟัน
หนึ่งในคำยอดฮิตที่คนจัดฟันหลายคนเคยได้ยินกันและอาจสับสนได้นั่นคือคำว่า เหล็กจัดฟัน ซึ่งมีอีกชื่อที่หลายคนเรียกกันว่า เหล็กดัดฟัน ซึ่งทั้งสองคำนี้มีความหมายเหมือนกันก็คือ เครื่องมือทางทันตกรรมที่ใช้เพื่อบังคับทิศทางของฟันให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ควรจะเป็นตามการวินิจฉัยของหมอฟันเด็ก เพียงแต่อยู่ที่ใครสะดวกใช้คำไหนมากกว่านั่นเองครับ
8. แมงกินฟัน
หลายคนอาจเคยได้ยินตำนานแมงกินฟันใช่มั้ยครับว่ามันน่ากลัวต่อฟันเราอย่างไรบ้าง? เพียงแต่ว่าแมงกินฟันที่ว่าไม่มีตัวตนอยู่จริงนะครับ เพราะจริงๆ แล้วมันคือแบคทีเรียในช่องปากที่กินเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันและผลิตกรดซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนเคลือบฟัน ทำให้สูญเสียแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากตัวฟัน จนเกิดอาการปวดฟันและลามจนเป็นฟันผุในที่สุด
9. ฟันตาย
อีกหนึ่งความเชื่อที่ฝังใจคุณพ่อคุณแม่หลายคนในวัยเด็กนั่นคือฟันตาย โดยมีความเชื่อที่ว่าฟันตายนั้นเกิดจากฟันหมดอายุการใช้งานซึ่งนั่นเป็นความเชื่อที่ผิดมากนะครับ เพราะฟันของเราสามารถใช้งานได้ยาวนานตามวิธีการดูแลรักษาของเรา เพียงแต่ส่วนประกอบของเคลือบฟันนั้นสามารถอ่อนแอลงและสึกกร่อนได้ตามกาลเวลา ส่วนฟันตายนั้นที่จริงแล้วเป็นภาวะที่เส้นเลือดและเส้นประสาทในโพรงประสาทฟันได้รับความเสียหายจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนเนื้อเยื่อในฟันและทำให้เซลล์เนื้อเยื่อฟันตาย โดยมีสาเหตุมาจากการได้รับอุบัติเหตุจนฟันไปกระแทกกับของแข็งอย่างรุนแรงหรือเกิดจากโรคฟันผุนั่นเอง
หวังว่าทั้ง 9 คำที่เรานำมาฝากนั้นจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจคำศัพท์ทางทันตกรรมมากขึ้น หากท่านใดมีข้อสงสยัเพิ่มเติมทางเรา Homey Dental Clinic ยินดีให้คำปรึกษาและบริการด้วยใจ เพื่อให้ท่านและบุตรหลานของท่านรู้สึกอุ่นใจทุกครั้งที่ได้ใช้บริการจากเรา ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและดูแลสุขภาพฟันของตัวเองและลูกน้อยมากยิ่งขึ้นครับ
บทความที่น่าสนใจ
- ทันตกรรมสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง?
- คำถามที่พบบ่อยเมื่อต้องพาลูกเข้าคลินิกทำฟันเด็ก
- 7 ข้อพิจารณาในการเลือกคลินิกทำฟันเด็กที่คุณควรรู้
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
คลินิกทันตกรรม Homey Dental Clinic เป็นคลินิกที่มีบริการการดูแลฟันและสุขภาพเหงือกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันแบบป้องกัน เช่น เคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ขูดหินปูน ขัดฟัน การทำฟันแบบรักษา เช่น ถอนฟัน รักษารากฟัน ฟันเทียม ฟันปลอม ผ่าฟันคุด และการทำฟันเพื่อความงามเช่น จัดฟันโลหะ จัดฟันดามอน จัดฟันแบบใส (invisalign) ทำรีเทนเนอร์ การฟอกสีฟันด้วย Zoom ทุกเคสดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ยังเป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีทันตแพทย์เด็กที่จบมาโดยเฉพาะถึง 8 ท่าน ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาเด็กกลัวหมอฟัน เพราะที่นี่เน้นการดูแลเด็กอย่างเป็นมิตร บรรยากาศเหมือนอยู่ที่บ้าน ทำให้เด็กสามารถมาหาหมอฟันอย่างมีความสุข เปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กไม่กลัวการรักษาฟัน